เจี๋ยวกู่หลาน
เจี๋ยวกู่หลาน

เจี๋ยวกู่หลาน

เจียวกู่หลาน (จีนตัวย่อ: 绞股蓝; จีนตัวเต็ม: 絞股藍; พินอิน: jiǎogǔlán; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynostemma pentaphyllum (Thunb.); ชื่ออื่น: ชาสตูล เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ เซียนเฉ่า) เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ส่วนที่ใช้เป็นยา คือต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวานในปี คศ 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพร ตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาจึงกลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา และศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีน