ประวัติ ของ เจ้าจอมมารดาแย้ม_ในรัชกาลที่_2

เจ้าจอมมารดาแย้ม เป็นธิดาของพระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (ทองดี)[2][3][4] เธอเป็นศิษย์คนหนึ่งของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เจ้าจอมมารดาแย้มจึงเป็นนางละครผู้มีชื่อในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่โดดเด่นจากแสดงเป็นอิเหนา จึงรับสมญาว่าแย้มอิเหนา[1] แล้วรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามารยาตร (ประสูติ: 2 กุมภาพันธ์ 2365 — สิ้นพระชนม์: ในรัชกาลที่ 4)[2]

ด้วยความที่เธอเป็นนางละครผู้มีชื่อเสียง หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต จึงหวนมาเป็นครูละครและถ่ายทอดวิชาแก่ศิษย์จนเป็นนางละครที่มีชื่อเสียงเช่นกันคือ ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4[1] เจ้าจอมมารดาแย้มมีศิษย์คนหนึ่งที่สามารถจดจำท่าและจังหวะจะโคนได้อย่างแม่นยำ เธอจึงตั้งชื่อให้ศิษย์คนนั้นว่า "แย้ม" เช่นเธอ ซึ่งต่อมาเป็นหม่อมละครของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)[5] ซึ่งลูกศิษย์รุ่นหลังที่สืบทอดวิชามาจากท่านก็เป็นผู้วางรากฐานการเรียนการสอนและรูปแบบการแสดงแก่กรมศิลปากรที่ตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน[1]

ในปัจฉิมวัย เจ้าจอมมารดาแย้มได้รับคำเชิญจากท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง ให้มาพำนักที่วังปากคลองตลาดร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2420 ซึ่งเป็นช่วงที่เธอเจ็บป่วย ดังนั้นเจ้าจอมมารดาแย้มจึงมอบหน้าที่การปลงศพและทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ท้าววรจันทร์ แต่สิ้นพิธีปลงศพเจ้าจอมมารดาแย้มแล้ว ท้าววรจันทร์ได้มอบทรัพย์สมบัติดังกล่าวให้แก่หลานของเจ้าจอมมารดาแย้ม[3][4]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมนรินทร์ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4