อภิเษกสมรส ของ เจ้าชายอัลเบิร์ต_พระราชสวามี

พระสวามี และพระราชบุตรในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

ความคิดในเรื่องการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ตกับเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระญาติได้อยู่ในใจของพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม พระราชมาตุลาของทั้งสองพระองค์ และดัชเชสแห่งเคนต์ พระชนนีของเจ้าหญิงวิกตอเรีย (พระเชษฐภคินีในกษัตริย์เลโอโพลด์) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2379 ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาพร้อมกับพระโอรสทั้งสองพระองค์เสด็จเยือนยังพระราชวังเคนซิงตัน ที่ซึ่งเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเคนต์ (พระอิสริยยศขณะนั้น) ประทับอยู่ เพื่อการพบปะกับพระองค์

การเสด็จมาเยือนในครั้งนี้สร้างความไม่พอพระทัยแก่พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระราชปิตุลาของเจ้าหญิงวิกตอเรีย ที่ไม่ทรงเห็นด้วยกับการเลือกคู่ของรัชทายาท และโปรดเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2382 หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียครองราชย์แล้วได้ 2 ปีเศษ เจ้าชายอัลเบิร์ต พร้อมด้วยพระเชษฐา เจ้าชายแอนสท์ เสด็จเยือนอังกฤษอีกครั้งเพื่อตกลงครั้งสุดท้าย ทั้ง 2 พระองค์ทรงหมั้นกันเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2382 สมเด็จพระราชินีนาถทรงร่างพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์จะเสกสมรสถึงสภาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 ทั้งสองก็เข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรส ที่พระราชวังเซ้นท์เจมส์ ก่อนวันพระราชพิธี 4 วัน สมเด็จพระราชินีนาถมีพระราชโองการสถาปนาพระคู่หมั้นให้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักร พร้อมทั้งทรงแต่งตั้งเป็นอภิรัฐมนตรีสภา อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้น (ลอร์ดเมาเบิร์น) คัดค้านพระราชดำริที่จะพระราชทานพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชาราชสวามี (King consort)

แต่ส่วนพระองค์เจ้าชายอัลเบิร์ตแล้ว พระองค์ไม่ทรงพระราชประสงค์พระอิสริยยศของทางฝั่งอังกฤษเลย[1] เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงบันทึกไว้ว่า "เหมือนกับเป็นการก้าวถอยหลัง สำหรับการเป็นเพียงดยุกแห่งซัคเซิน เรารู้สึกว่าตัวเราเองสูงส่งกว่าดยุกแห่งยอร์ก หรือดยุกแห่งเคนต์มากนัก พระอิสริยยศของพระองค์ในประเทศอังกฤษ รวมทั้งเครือจักรภพอื่นๆ (ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 สถาปนาพระองค์ให้ทรงเป็นเพียง) เจ้าชายอัลเบิร์ต (HRH the Prince Albert) เท่านั้น จนกระทั่งอีก 17 ปีต่อมาพระองค์จึงทรงได้รับการพระราชทานสถาปนาเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (the Prince consort) แต่ตลอดชั่วพระชนม์ชีพนั้น พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในพระราชสมัญญาเจ้าชายพระราชสวามี ตลอดอยู่แล้ว

พระราชโอรส-ธิดา

พระนามประสูติสิ้นพระชนม์หมายเหตุ[2]
เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี21 พฤศจิกายน 18405 สิงหาคม 1901สมรสในปี 1858 กับ มกุฎราชกุมารฟรีดริช (ต่อมาคือจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี)
เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7)9 พฤศจิกายน 18416 พฤษภาคม 1910สมรสในปี 1863 กับ เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงอลิซ25 เมษายน 184314 ธันวาคม 1878สมรสในปี 1862 กับ Prince Louis, later Ludwig IV, Grand Duke of Hesse and by Rhine; had issue
เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินบะระ6 สิงหาคม 184430 กรกฎาคม 1900สมรสในปี 1874 กับ แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
เจ้าหญิงเฮเลนา25 พฤษภาคม 18469 มิถุนายน 1923สมรสในปี 1866 กับ Prince Christian of Schleswig-Holstein
เจ้าหญิงลูอิส18 มีนาคม 18483 ธันวาคม 1939สมรสในปี 1871 กับ John Campbell, Marquess of Lorne
เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น1 พฤษภาคม 185016 มกราคม 1942สมรสในปี 1879 กับ Princess Louise Margaret of Prussia
เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี7 เมษายน 185328 มีนาคม 1884สมรสในปี 1882 กับ Princess Helena of Waldeck and Pyrmont
เจ้าหญิงเบียทริซ14 เมษายน 185726 ตุลาคม 1944สมรสในปี 1885 กับ เจ้าชายเฮนรีแห่งบัทเทนแบร์ก

ใกล้เคียง

เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เจ้าชายคริสเตียน มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ