พระประวัติ ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต มีนามเดิมว่า เจ้าบุญทวงศ์ ณ ลำปาง ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 เป็นเจ้าราชโอรสในเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 12 กับแม่เจ้าฟองแก้ว ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราช ในปี พ.ศ. 2438[2]

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตมีราชเชษฐา ราชภคินี ราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมพระราชบิดา 23 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  1. เจ้าหญิงหอม ณ ลำปาง
  2. เจ้าน้อยคำแสน ณ ลำปาง
  3. มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13
  4. เจ้าน้อยกิ ณ ลำปาง
  5. เจ้าชวลิตวงศ์วรวุฒิ (น้อยแก้วเมืองมูล เป็นเจ้าราชภาคินัยแล้วเลื่อนเป็นเจ้าราชบุตรนครลำปาง เลื่อนเป็นเจ้าชวลิต วงศ์วรวุฒิ เมื่อ 27 เมษายน 2455) ตำแหน่งที่ปฤกษาราชการเมืองนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าราชสัมพันธวงศ์ คำผาย สุยะราช, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำปาง" ซึ่งสมรสกับ "เจ้าหญิงอุษาวดี ศีติสาร" ราชธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าหลวงอินต๊ะชมภู พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 4 เจ้านายราชวงศ์เชียงแสนเก่า
  6. เจ้าน้อยพึ่ง ณ ลำปาง
  7. เจ้าน้อยเมือง ณ ลำปาง
  8. เจ้าน้อยหม่อม ณ ลำปาง
  9. เจ้าหญิงนวล ณ ลำปาง
  10. เจ้าหญิงซุ่ย ณ ลำปาง
  11. เจ้าหญิงหวัน ณ ลำปาง
  12. เจ้าน้อยแก้ว ณ ลำปาง
  13. เจ้าหญิงหยิ่น ณ ลำปาง
  14. เจ้าไชยสงคราม น้อยโท่น ณ ลำปาง, เจ้าไชยสงครามนครลำปาง
  15. เจ้าหญิงบัวเกษร ณ ลำปาง
  16. เจ้าหญิงบัวเทพ ณ ลำปาง - พระอัยยิกา (เจ้ายาย) ใน "เจ้าอินทเดชสุวรรณบท ณ ลำพูน"
  17. เจ้าหญิงแก้วมาลา ณ ลำปาง
  18. เจ้าน้อยปั๋นแก้ว ณ ลำปาง
  19. เจ้าหญิงฟอง ณ ลำปาง
  20. เจ้าน้อยอ้น ณ ลำปาง
  21. เจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าเทพธำรงค์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงอัตถ์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงต่วน ณ ลำปาง"
  22. เจ้าน้อยหมวก ณ ลำปาง
  23. เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ ลำปาง

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าบุญวาทยวงษ์มานิต ลามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพยจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิไศย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิสัตยาธิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง[3]

ถึงแก่พิราลัย

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ถึงแก่พิราลัยด้วยโรควัณโรคภายในเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465[4][5] สิริชันษา 65 ปี รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 25 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ เมรุชั่วคราวสนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้ง 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน เมื่อพระราชทานเพลิงมีเครื่องประโคมจ่าปี่ 1 กลองเป็นของสำหรับเมืองลำปาง[6] เหตุที่มีการพระราชทานเพลิงศพหลังจากถึงแก่พิราลัยไปแล้วกว่า 5 ปี เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีทายาทองค์ใด ที่มีทรัพย์มากเพียงพอที่จะจัดการถวายเพลิงพระศพ จนความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[5] จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ขอให้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการจัดการพระศพ และถวายเพลิงพระศพอย่างสมเกียรติ พร้อมกับขอให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำพูน และน่าน ร่วมเป็นกรรมการด้วย[7]

ใกล้เคียง

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เจ้าบ้าน เจ้าเรือน เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ เจ้าบ่าวกลัวฝน เจ้าบุญมี ตุงคนาคร เจ้าบ่าวทีเด็ด เจ้าบุญสารเสวตร์ ณ ลำปาง เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต http://janphar.lpru.ac.th/culture/5/web9.htm http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/ra... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/05... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/04... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/04... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/04... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/04... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/05... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/...