เจ้าผู้ครองนครพะเยา_(ยุคฟื้นฟู)

เจ้าผู้ครองนครพะเยา (ยุคฟื้นฟู) (พ.ศ. 2387 - พ.ศ. 2456) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเจ้าหลวงน้อยอินทร์, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๘ กับ พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕ ขณะดำรงพระยศ เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ได้ทูลขอตั้งเมืองเชียงรายโดยให้เป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ และตั้งเมืองงาว เมืองพะเยา เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานตั้งเมืองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาเจ้าผู้ครองเมืองทั้งสามมีพระนามพ้องจองกันดังนี้ เจ้าธรรมลังกา เป็น พระยารัตนอาณาเขตร เจ้าหลวงเมืองเชียงราย เจ้าพุทธวงศ์ เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าหลวงเมืองพะเยา เจ้าหนานมหาวงศ์เป็น พระยาฤทธิภิญโญยศ เจ้าหลวงเมืองงาว [1]จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปลี่ยนอำนาจการบริหารปกครองประเทศใหม่โดยยกเลิกมณฑลเปลี่ยนมาเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองจึงได้ยกเลิกไป พระยาประเทศอุดรทิศเจ้าเมืองพะเยาองค์สุดท้ายได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ทางการจึงตั้งนายคลาย บุษยบรรณ มาเป็นนายอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดเชียงราย

ใกล้เคียง

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครพะเยา (ยุคฟื้นฟู) เจ้าผู้อารักขา เจ้าผู้ครองโมนาโก เจ้าผู้ร่วมครองอันดอร์รา เจ้าผู้ปกครอง เจ้าผู้ครองลีชเทินชไตน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าผู้ครองนครลำปาง