การทำงาน ของ เจ้าพงศ์แก้ว_ณ_ลำพูน

กิจการผ้าไหม

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน เป็นผู้บุกเบิกกิจการผ้าไหมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อครั้งเจ้าพงศ์แก้ว ได้สมรสกับเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน และย้ายมาพักอาศัยที่คุ้มหลวงลำพูน ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากแม่เจ้าส่วนบุญ จนสามารถเป็นสืบทอดการทอผ้ายกดอกที่เก่าแก่สวยงาม และเปิดโรงงานทอผ้าขึ้นในคุ้มหลวงลำพูน รวมถึงฝึกสอนชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบอาชีพจนแพร่หลายในจังหวัดลำพูน[6]

เจ้าพงศ์แก้ว ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ถวายการดูแลผ้าไหมในฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

กิจการสาธารณะ

เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน มีส่วนในการส่งเสริมกิจการของรัฐ อาทิ การบริจาคที่ดินบริเวณตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน เพื่อสร้างสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2525[7] และเจ้าพงศ์แก้ว ยังได้รับหน้าที่เป็นนายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 ถึงปี พ.ศ. 2517 และวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2522[8]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)