ประวัติ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี_(ขำ_บุนนาค)

กำเนิด การศึกษาและชีวิตในวัยเยาว์

เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และหม่อมรอด เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำเดือน 11 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นน้องต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมรสกับท่านผู้หญิงกลิ่น บุนนาค ธิดาของหลวงแก้วอายัติ (จาด บุนนาค)เเละ ลิ้ม บุนนาค มีพี่น้องร่วมมารดาหนึ่งคน ชื่อ พุก

พี่สะใภ้ คือ ท่านผู้หญิงกลิ่น บุนนาค มีพี่น้องคือ อุไร อิศรางกูร ณ อยุธยาที่สมรสไปกับเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (บิดาของพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นราชสกุลสายพระปฐมบรมราชวงศ์ ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระสัมพันธ์วงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์

อนันต์ สุขะศิริวัฒน์ หลานปู่ของนาย อิน สุขะศิริวัฒน์ผู้เป็นข้าราชบริพารใกล้ชิดถวายงานตำหมากถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สกุลบุนนาคในปัจจุบันชั้นที่เจ็ดเเละเเปด ที่รับราชการเเละช่วยงานราชการ สาธารณประโยชน์ได้เเก่ พ.ต.ท.กนุท (บุนนาค) ชำนาญกิจ กฤษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท คณะทำงานด้านการฝึกอบรมข้าราชการในสังกัด กระทรวงยุติธรรม เเละ ทิพย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

ชีวิตราชการ

เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเข้ารับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในตำแหน่งนายพลพันมหาดเล็กหุ้มแพร ต่อมาได้เลื่อนเป็นจมื่นราชามาตย์พลขันธ์ ปลัดพระกรมตำรวจ

ถึงสมัยรัชกาลที่4 ได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยา ช่วยราชการกรมเจ้าท่า (ช่วยท่านบิดา) เมื่อ พ.ศ. 2394 เมื่อท่านบิดาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ซึ่งว่าราชการกรมท่าถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรมท่าแทนเมื่อ พ.ศ. 2408 และเลื่อนให้เป็น เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกศาธิบดี แต่ทรงเปลี่ยนให้ใหม่เป็นเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดีในภายหลัง เนื่องจากทรงพบว่านามที่ทรงตั้งให้เป็น "กาลกรรณี"

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีลาออกจากราชการสมัยปลายรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2410 เนื่องจากมีปัญหาป่วยด้วยโรคตา ครั้นเมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งด้วยเห็นว่าเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์สูง เป็นผู้มีอัธยาศัยดี เที่ยงธรรม จึงโปรดสถาปนาให้มีอำนาจได้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาคิดอ่านราชการแผ่นดินด้วย เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดีรับราชการต่อมาได้อีกเพียง 2 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)