ประวัติ ของ เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์_(กุน_รัตนกุล)

นามเดิม คือ กุน เป็นบุตรคนที่ 5 ของจีนกุ๋ย เป็นหลานชายของอ๋อง เฮงฉวน (Ong Heng-Chuan) จีนแต้จิ๋ว แซ่อึ้ง จีนกุ๋ยผู้เป็นบิดามีหน้าที่รับผิดชอบการค้าสำเภา บ้านอยู่ที่ตำบลบ้านคลองโรงช้าง ราชบุรี เมื่อจีนกุนได้รับราชการแล้วย้ายมาอยู่ที่แม่กลอง สมุทรสงคราม ก่อนจะโยกย้ายมาอยู่หน้าวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นพระราชประสิทธิ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เลื่อนยศเป็นพระยาศรีพิพัฒน์[1] จางวางกรมพระคลังสินค้า สันนิษฐานว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตั้งแต่ทรงเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี และเมื่อย้ายมาอยู่ที่สมุทรสงครามก็คงคุ้นเคยกับพระญาติของพระมเหสีพระองค์ จีนกุนมีความมั่งคั่ง จนเรียกกันว่า เจ๊สัวกุน[2]

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 2 ระบุว่าได้เป็นพระยาพระคลัง หรือเรียกว่า ท่านท่าเรือจ้าง เพราะท่านเป็นผู้ชำนาญในการแต่งสำเภาออกไปค้าขายที่เมืองจีน จนได้ชื่อว่าเศรษฐีสำเภา ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายวัด อาทิ วัดพระยาทำ กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่มาของชื่อวัดก็มาจากการที่ท่านได้ทำการบูรณะวัด วัดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเคยอยู่ใกล้กับบ้านเรือนของท่าน และวัดในจังหวัดนนทบุรี อย่าง วัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) วัดกลางเมือง (วัดกลางบางซื่อ) และวัดท้ายเมือง[3] รวมถึงวัดศาลากุล[4]

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 2 สันนิษฐานว่าก่อนวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2357 เนื่องจากเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) ได้ขึ้นมาเป็นสมุหนายกแทนอัฐิของท่านบรรจุอยู่ที่เจดีย์วัดใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)