ประวัติ ของ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์_(แพ_บุนนาค)

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ มีนามเดิมว่าแพ เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับหม่อมหงิม พงษาวดารราชินิกุลบางช้างระบุว่าท่านเกิดในปีเถาะ จ.ศ. 1181 (ตรงกับ พ.ศ. 2362) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบรรดาศักดิ์เป็นนายศัลวิไชย หุ้มแพร แล้วเลื่อนเป็นจมื่นสมุหพิมาน ปลัดกรมพระตำรวจสนมทหาร[1]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนเป็นพระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหาร แล้วเลื่อนเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ จางวางกรมพระคลังสินค้า[2] ถึงปี พ.ศ. 2400 ได้โปรดให้ท่านเป็นราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3กรุงฝรั่งเศส[3] ออกเดินทางเมื่อวันพฤหัสบดี 10 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 1223[4] (ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2404)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาและองคมนตรี และได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี วรมนตรีมหามาตยานุนายก รัชชดิลกสุริยวงศ์ ดำรงศักดิบรมมหาพิไชยญาติ ราชกิจปฏิการาภิธยาศรัย ตรัยศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ป่วยเป็นไข้มาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน แพทย์จัดยารักษาแล้วอาการไม่ทุเลา ต่อมาจึงหมดสติและถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 เวลา 5 ทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2429 สิริอายุได้ 67 ปี แต่บางแห่งว่าอายุ 68 ปี[5] วันรุ่งขึ้นเสด็จฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าพนักงานแต่งศพลงโกศไม้สิบสองตั้งบนชั้น มีฉัตรเบญจา 4 คัน ตั้งเป็นเกียรติยศ[6]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)