บูรณะวัดหัวเวียงรังษีและหนีจากธาตุพนม ของ เจ้าพระอัคร์บุตร_(บุญมี_รามางกูร)

วัดหัวเวียงรังษี บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สังกัดธรรมยุติกนิกาย[9] อยู่ริมโขงตรงข้ามเมืองหนองบก แขวงคำม่วน ทิศเหนือกำแพงเมืองธาตุพนม เป็นวัดโบราณสร้างทับวัดเก่าสมัยล้านช้างเวียงจันทน์และเป็นวัดประจำตระกูลผู้ปกครองธาตุพนม เดิมเป็นเขตกัลปนาชั้นในของพระธาตุพนม[10] อาจสร้างครั้งสถาปนาอูบมุงภูกำพร้าและบูรณะฟื้นฟูสมัยปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมยุคเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก อิฐอุโบสถหลังเดิมรุ่นเดียวกับอิฐวัดพระธาตุพนม เดิมมีเนื้อที่ ๕ ไร่เศษ อยู่ทิศหัวเมืองธาตุพนม เดิมใกล้วัดและในวัดมีสระโบราณ ๓ แห่งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านธาตุพนม หลังกุฏิวัด และริมศาลาติดที่ว่าการอำเภอหลังเดิม มีไว้สำหรับเจ้านายเวียงจันทน์อุปโภคบริโภค มุขปาฐะวัดระบุว่าสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เสด็จบูรณะวัดพระธาตุพนมได้ประทับใกล้วัดและอาศัยน้ำจากสระทั้ง ๓[11] นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีมุทธาภิเษกผู้ปกครองธาตุพนม[12] ต่อมาถูกถมทั้งหมดเนื่องจากการปรับภูมิทัศน์ หลังยกเลิกระบบอาดยาเมือง พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้าราชการและราษฎรร่วมสร้างกุฎิใหม่ขึ้นที่วัดปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ๑๒ ตุลาคม ๒๔๕๖ เล่ม ๓๐ หน้า ๑๕๗๔-๑๕๗๕ พ.ศ. ๒๔๕๖ ว่า ...ด้วยมณฑลอุดรมีใบบอกมาว่า ได้มีผู้ศรัทธาบริจาคทรัพย์ รวม ๘๐ บาท ๓๒ สตางค์ สร้างกุฏิขึ้นที่วัดหัวเวียง ในอำเภอเรณูนคร เมืองนครพนม ๑ หลัง ๒ ห้อง กว้าง ๑ วา ๓ ศอก ยาว ๓ วา ๒ ศอก เสาใช้ไม้มะค่า พื้นฝาแลเครื่องบนใช้ไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องไม้แล้วเสร็จหมดตัวเงิน ผู้บริจาคทรัพย์ทั้งหลายขอพระราชทานถวายพระราชกุศล ดังมีรายนามผู้บริจาคทรัพย์ คือ พระเกศ ๘ บาท นายหอมเสมียน ๑๘ บาท จีนหุย ๑๔ บาท ๕๐ สตางค์ นายน้อย ๘ บาท ๕๐ สตางค์ ขุนพนมพนารักษ์นายอำเภอ ๘ บาท นายจาม ๔ บาท ๗๕ สตางค์ นายทองดี ๔ บาท ๕๐ สตางค์ นายอิน นายเหล็ก คนละ ๔ บาท ผู้บริจาคทรัพย์ต่ำกว่า ๔ บาท เงิน ๖ บาท ๗ สตางค์ กระทรวงธรรมการได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว กระทรวงธรรมการ แจ้งความมา ณวันที่ ๒๖ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ (ลงนาม) วิสุทธสุริยศักดิ์ เสนาบดี...[13] ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๐ ฝรั่งเศสชักชวนเจ้านายลาวข้ามโขงเป็นเจ้าเมืองฝั่งซ้ายจึงอพยพบุตรภรรยาข้ามไปพร้อมเจ้าเมืองนครพนม ฝรั่งเศสตั้งเจ้าเมืองนครพนมเป็นเจ้าเมืองท่าแขกและตั้งพระองค์เป็นขุนโอกาสปกครองกองข้าพระธาตุพนมบริเวณบ้านด่านปากเซบั้งไฟและบ้านใกล้เคียงหลัง พระอัคร์บุตรถูกลดอำนาจในธาตุพนมเนื่องจากสยามตั้งพระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร) เป็นนายกองข้าพระธาตุพนมแทนตำแหน่งขุนโอกาสที่ขาดช่วงสมัยหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ โดยเป็นกองขึ้นเมืองนครพนมและมุกดาหาร ได้ข้ามมาธาตุพนมนำประชาชนบูรณะวัดหัวเวียงและสั่งช่างคือพระอธิการอินทร์เจ้าอาวาสกับหลวงชาญอักษรกรมการบ้านธาตุพนมชาวนครราชสีมาสร้างรูปครุฑหลังอุโบสถ พระปราณีศรีมหาบริษัท (เมฆ) อดีตขุนโอกาสลูกพี่ลูกน้องซึ่งตั้งบ้านเรือนที่เซบั้งไฟและพระอุปราชา (เฮือง) ผู้น้องไม่พอใจลือว่าพระอัคร์บุตรจะต้องความผิดราชการจึงข้ามไปเซบั้งไฟและไม่กลับมาธาตุพนมอีก[14] ไม่นานอพยพไปชายแดนเวียดนามในตำแหน่งปรึกษาราชการเมืองคำเกิดในแขวงบอลิคำไซจนร่ำรวยจากการค้าชายแดน ส่วนเซบั้งไฟยกให้ท้าวพมมะพุทธาหรือหลวงโพสาลาดอดีตปลัดกองบ้านธาตุพนมผู้บุตรปกครอง ต่อมาฝรั่งเศสยกเป็นเมืองเซบั้งไฟจึงเลื่อนบุตรเป็นพระยาโพสาราชเจ้าเมือง ให้ท้าวกัตติยะหลานพระอัคร์บุตรเป็นอุปฮาต[15] พ.ศ. ๒๔๖๒ วัดหัวเวียงรับพระราชทานวิสุงคามสีมาสังกัดธรรมยุติกนิกายความว่า ...มีพระบรมราชโองการประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถวัดหัวเวียง ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยยาว ๑ เส้น ๑๘ วา โดยกว้าง ๑ เส้น ๑๖ วา พระครูพนมนครคณาจารย์เจ้าคณะจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระครูเจ้าคณะแขวง ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรูณา ขอเปนที่วิสุงคามสิมา พระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรมการ ปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เปนที่วิสุงคามสิมา ยกเปนแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขตร เปนที่วิเสสสำหรับพระสงฆ์มาแต่จาตุทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมมีอุโบสถกรรมเปนต้น พระราชทานตั้งแต่ณวันที่ ๒๙ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๘ พระพุทธศาสนกาล ๒๔๖๒ พรรษา เปนวันที่ ๓๓๖๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้...[16]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)