ประวัติ ของ เจ้าพระอัคร์บุตร_(บุญมี_รามางกูร)

พระอัคร์บุตรเป็นบุตรลำดับแรกของเจ้าพระรามราชปราณีฯ (ศรี) ขุนโอกาสเมืองธาตุพนมลำดับ ๒ กับอาดยานางบุษดี เป็นหลานปู่เจ้าพระรามราชฯ (ราม) ขุนโอกาสเมืองธาตุพนมลำดับแรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์กับอาดยานางยอดแก้วสีบุนมาแห่งจำปาศักดิ์ อ้างสิทธิปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมลำดับ ๓ ต่อจากบิดาแต่ไม่สำเร็จ ตำแหน่งเป็นของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ) ลูกพี่ลูกน้อง เนื่องจากการเมืองท้องถิ่นคือการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสและการลดอำนาจจากสยาม การขัดผลประโยชน์กลุ่มมูลนายธาตุพนมและปัญหากบฏผีบุญอีสาน[4] ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๔ ปฏิรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล นำกำลังผีบุญชิงกองข้าโอกาสพระธาตุพนมจากหลานคือพระพิทักษ์เจดีย์ (ถง) นายกองบ้านธาตุพนมลำดับ ๕[5] คัมภีร์สังกาดธาตุพระนมระบุ ...จุลลสังกาดราซาได้ ๔ ฮ้อย ๒๐ ๒ ตัว ปลีเปิกยี่ เดือน ๑๐ ๑ เพ็งวัน ๔ ปีกัดไค้ ยามเที่ยงคืน อาคคัตตะรืกถือซาว ๗ ลูกอั้น พระมาหาสมเด็จจราซาธาดตูพระนมบุฮมมราซาเจดีมหาคูร ยังมีพระยาตน ๑ ก็ถือเอาคุนสีนมาสั่งสอรสัมมนพรามเจ้าทั้งหลาย แลอาคคมหาเสนาท้าวพระยาขุรหมื่รหลวงเมืองปชานาสัตตินิกอรซาวบ้านซาวเมืองทั้งยิงซายน้อยใหย่ทั้งหลาย...[6] ต่อมาวิวาทกับพระปราณีฯ (เมฆ) และพระอุปราชา (เฮือง) ผู้น้องจนลือว่าต้องความผิดราชการจึงหนีจากธาตุพนมอยู่ในอารักขาฝรั่งเศสพร้อมพระยาพนมนครานุรักษ์ฯ (จันทร์ทองทิพย์ มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนม ขุนสฤษดิ์เรณู (ไชยสาร บัวสาย) ยกกระบัตรเมืองเรณูนคร และราชวงศ์พรหมบุตร (บุญเที่ยง รามางกูร) ผู้น้อง[7] ฝรั่งเศสเอาใจโดยตั้งเป็นขุนโอกาสเพียงในนามปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมไม่กี่หมู่บ้านในเซบั้งไฟ ต่อมาย้ายเป็นกรมการเมืองคำเกิดปรึกษาราชการชายแดนเวียดนามชั่วคราวแล้วอพยพอยู่เวียงจันทน์ถาวร ระหว่างเป็นกรมการสมรสกับอาดยานางบัวสีธิดาเพี้ยทิพพะสอน (ท้าวสุวันนะกุมมาน สุวันนะพักดี) กับนางบัวมะนีหลานปู่หลานย่าอุปฮาตเมืองคำเกิดกับอาดยานางคำด้วง ระหว่างอาศัยที่เวียงจันทน์เดินทางเยี่ยมญาติที่ธาตุพนมไม่เกิน ๓ ครั้ง เมื่อตั้งสกุลบุคคละที่เวียงจันทน์จึงรวมญาติสายตรงขุนโอกาสฝั่งขวาน้ำโขงใช้สกุลร่วมกันทั้งหมด[8]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)