พระประวัติ ของ เจ้าฟ้ามงกุฎ_(พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่เจ้าฟ้าสังวาลย์พระมเหสีฝ่ายซ้าย[1] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุว่าเจ้าฟ้ากุณฑลมีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระอนุชาได้แก่ เจ้าฟ้ากุณฑล เจ้าฟ้าอาภรณ์ และเจ้าฟ้าสังคีต[3] ส่วน "บาญชีพระนามเจ้านาย" ที่มีอยู่ใน คำให้การชาวกรุงเก่า มิได้ระบุพระนามของพระองค์ แต่ระบุพระนามของพระเชษฐภคินี และพระเชษฐา คือ เจ้าฟ้าขวันตง (คือเจ้าฟ้ากุณฑล) และเจ้าฟ้าอัมพร (คือเจ้าฟ้าอาภรณ์)[4]

เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลพระพี่นาง มักจะฟังนิทานปรัมปราหรือเรื่องเล่าจากยายยะโว (ยะโวคือคำว่ายาวอหรือยะวาแปลว่าชาวชวา) นางพระกำนัลซึ่งเป็นเชลยจากเมืองปัตตานี[5] ซึ่งยายยะโวได้เล่านิทานอิงพงศาวดารชวาถวายเจ้าฟ้าทั้งสอง เจ้าฟ้ากุณฑลจึงพระราชนิพนธ์บทละคร ดาหลัง หรืออิเหนาใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎจึงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนาเล็ก มาตั้งแต่นั้น[2] ซึ่งคำชวาและมลายูที่ปรากฏมักลงท้ายด้วยเสียงสูงอันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากผู้เล่าที่มีสำเนียงใต้เป็นสำคัญ[5] หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ต้นฉบับของวรรณคดีก็สูญหายไปบางส่วน[6] เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้ากุณฑลถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ ในขณะที่ทั้งสองพระองค์นิราศในต่างแดน ก็ทรงเผยแพร่นาฏศิลป์อย่างอยุธยาให้แก่ราชสำนักพม่า และส่งอิทธิพลตกทอดถึงนาฏศิลป์พม่าในยุคปัจจุบัน[7]

หลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระองค์จึงทรงรวบรวมบทละครเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนาเล็ก พระราชนิพนธ์เดิมของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎมาเรียบเรียงใหม่[2] โดยมีเนื้อหาในพระราชนิพนธ์ อิเหนา ฉบับรัชกาลที่ 1 อธิบายไว้ความว่า[8]

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้องสำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป

ใกล้เคียง

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ เจ้าฟ้าเสือห่มเมือง เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีมณีไลย เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ เจ้าฟ้าน้อย เจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมารแห่งลาว เจ้าฟ้าอภัยทศ เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว