ขึ้นครองราชย์ ของ เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า

เริ่มแผ่อิทธิพล

เสือก่าฟ้าข้ามแม่น้ำคามน้ำช้างด้วยแพ และมาถึงทะเลสาบหนองยาง (พม่า:Nawng Yang, ความหมาย ทะเลสาบไม่หวนกลับ) ชาวนาคะบางพวกพยายามต้านทานการรุกรานของชาวอาหม แต่เสือก่าฟ้าก็เอาชนะได้ และยึดครองหมู่บ้านที่ได้มา ชาวนาคะมากมายถูกฆ่า ย่างไฟ และญาติพี่น้องถูกบังคับในกินเนื้อคนตาย ทำให้ชาวนาคะมาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก และเสือก่าฟ้าได้ตั้งขุนนางปกครองอาณาเขตที่ยึดได้

เสือก่าฟ้าก็ยกพลต่อไปยัง เมืองแดงเขารัง คำแหงปุง และนามรูป พระองค์ได้ทรงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเซสสามายังทิหิง แต่พบสถานที่ไม่เหมาะสมจึงมุ่งลงไปทางใต้จนถึงทิปาม ต่อจากนั้นก็มาถึง เมืองกลาง เจครุ (อภัยปุระ) ซึ่งเสือก่าฟ้าได้พำนักอยู่หลายปี จนใน พ.ศ. 1783 เกิดน้ำท่วมจึงทิ้งเมืองล่องมาตามแม่น้ำพรหมบุตรมายังฮาบุง และพำนักเป็นเวลา 2 ปี ชาวอาหมได้ทำการเพาะปลูกเนื่องจากเป็นที่ราบลุ่ม แต่ต่อมาเกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ. 1787 ต้องอพยพอีกลงมาตามแม่น้ำพรหมบุตรจนถึงปากน้ำทิขุ

เสือก่าฟ้ามาถึงลิกิริกาออน ในปี พ.ศ. 1789 พระองค์เดินทางไปยังสีมาลุกุรี โดยทิ้งกองทหารกองเล็กๆ ไว้กองหนึ่ง พระองค์ประทับที่สีมาลุกุรี 5-6 ปี พระองค์พยายามโจมตีชุมชนในลุ่มน้ำแดง (แควหนึ่งของทิขุ) แต่ต้องล้มเลิก เนื่องจากมีกลุ่มชนอยู่มากมายเกินไป

ก่อตั้งราชธานี

ในปี พ.ศ. 1796 ทรงทิ้งสีมาลุกุรีเพื่อไปยังเจ้รายดอย และมีการเลี้ยงฉลอง สังเวยต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยม้า 2 ตัว และมีการสวดมนต์ถวายเทวไทใต้ต้นหม่อน(ชาวอาหมเรียกดินแดนอาณาจักรของตนว่า เมิงนุนสุนคำ หรือ เมืองดอนสวนคำ แปลว่า เมืองที่เต็มไปด้วยสวนทอง)

ชาวโมรานและโบราฮียอมสวามิภักดิ์

ในขณะนั้น อาณาเขตใกล้เคียงอยู่ในการปกครองของกษัตริย์โมรานพระนามว่า บาดันชา และกษัตริย์โบราฮีพระนามว่า ตาคุมตา ซึ่งทั้งสองอาณาจักรได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อเสือก่าฟ้า ในภายใต้การปกครองของอาหม ชาวโมรานไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องส่งส่วยเป็นสินค้าป่า เช่น ช้าง สีย้อมผ้า น้ำผึ้ง และเสื่อ เป็นต้น ชาวโมรานจำนวนมากได้ยอมรับวัฒนธรรมอาหมมาใช้ แต่ยังคงใช้ภาษาโบโดพูดกันเช่นเดิม

พระราชกรณียกิจอื่น ๆ

เสือก่าฟ้าได้ทรงทำการต่อสู้จนได้ดินแดนหลายแห่งมาไว้ครอบครอง ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำเนินการอย่างชาญฉลาด โดยการยกย่องฐานะของดินแดนเหล่านั้นให้เท่าเทียมกับชาวอาหม และสนับสนุนการสมรสระหว่างเผ่า ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้กลายเป็นชาติเดียวกัน

และพระองค์ยังได้เจริญสัมพันธไมตรีกับดินแดนอื่นๆซึ่งเป็นเครือญาติในตระกูลเดียวกันกับพระองค์ ซึ่งได้ส่งของกำนัลเช่น ทอง และเงินไปถวาย ในรัชกาลนี้ยังได้ตั้งตำแหน่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่แห่งรัฐขึ้น 2 ตำแหน่งคือ เถ้าเมืองหลวง และเจ้าพรองเมือง ซึ่งมีอำนาจสูงสุดถัดจากองค์กษัตริย์

ใกล้เคียง

เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ เจ้าหญิงดิสนีย์ เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร เจ้าหญิงอัตสึ (ละครโทรทัศน์) เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ (ค.ศ. 1796–1817) เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ