ศาสนสถาน ของ เจ้าเซ็น

แขกเจ้าเซ็นมีศาสนสถาน ไม่เรียกว่า มัสยิดหรือสุเหร่า หากแต่เรียกว่า กุฎีหรือกะดี จุฬิศพงศ์ จุฬารัตนอธิบายว่า "กะดี" มาจากคำว่า "กะดีร์คุม" ในภาษาอาหรับ-เปอร์เซีย แปลว่า "ตำบลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครมักกะฮ์กับมะดีนะฮ์"[15] บ้างว่าเป็นคำมลายูที่ยืมจากเปอร์เซียอีกทีว่า "กะเต" แปลว่า "พระแท่นที่ประทับ"[16] ศาสนิกชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานในแถบฝั่งธนบุรี[17] ปัจจุบันมีกุฎีเจ้าเซ็นทั้งหมดสี่แห่ง ดังนี้

ชื่อไทยชื่ออื่นที่ตั้ง
1.มัสยิดกุฎีหลวงกุฎีบน, กุฎีเจ้าเซ็นแขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
2.กุฎีเจริญพาศน์กุฎีกลาง, กุฎีล่างแขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
3.มัสยิดดิลฟัลลาห์กุฎีนอก, กุฎีปลายนาแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
4.มัสยิดผดุงธรรมอิสลามแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ใกล้เคียง