การรวบรวมรัฐไทใหญ่ ของ เจ้าเสือข่านฟ้า

รวบรวมอาณาจักรแสนหวี เวียงแสนแจ้

พระองค์ได้ส่งสาสน์ไปยังเจ้าท้าวน้อยแข่ ผู้ครองอาณาจักรแสนหวี[2]เวียงแสนแจ้ เพื่อปรึกษาหารือใน เรื่องการรวมรัฐ แต่เจ้าท้ายน้อยแข่มิทรงยอมรับ และไม่มาปรึกษาหารือเพื่อการดังกล่าวด้วย เป็นเหตุให้เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยเจ้าสามหลวงฟ้า พระอนุชา ยกทัพไปตีเวียงแสนแจ้ จนเป็นเวียงแสนแจ้ได้รับความเสียชาวเมืองจึงขอร้องให้เจ้าท้าวน้อยแข่ยอมมอบตัวให้แก่เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า อาณาจักรแสนหวีเวียงแสน แจ้ได้รวมเข้าในเมืองมาวหลวงมาตั้งแต่นั้นมา

รวบรวมเวียงจุนโก เมืองมีด และเชียงดาว

เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าได้ทรงส่งสาล์นไปยังเวียงจุนโก เมืองมีด และเชียงดาว[3] เพื่อเชื้อเชิญเจ้าฟ้าผู้ปกครองเมือง มายังเวียงแจ้ล้าน ซึ่งผู้ปกครองเมืองดังกล่าวในสมัยนั้น คือ เจ้าไตขืน เจ้าไตไก่ เจ้าไตเต่า เจ้าไตแตง และขุนสามอ่อน ไม่ยอมปฏิบัติตาม และยังได้จับราชทูต 7 คนประหารชีวิต โดยรอดชีวิตมาได้ 3 คน และได้ส่งทหารไปเผาทำลายบ้านเมืองทางใต้ของเมืองมาวทำให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ ท้ายสุด ชาวเมืองขอร้องให้เจ้าไตขืนยอมแพ้ ชาวเมือง ก็ยอมสวามิภักดิ์ แม่ทัพนายกองจึงจับเจ้าไตขืนมอบให้เจ้าหลวงเสือข่านฟ้า และในปีต่อมาก็ได้เข้า ยึดหัวเมือง ใหญ่ทางตอนใต้เมืองมาว อันได้แก่ ยองห้วย จ๋ามกา เมืองปาย และเมื่องอื่น ๆ บริเวณนั้น

รวบรวมหัวเมืองยูนนาน

พ.ศ. 1860 เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าได้ยกทัพใหญ่ขึ้นเหนือไปยังยูนนาน เจ้าเมืองแสหอตู้แห่งยูนนานจึงได้ออกมาเจรจา เพื่อไม่ให้เกิดการสงคราม และได้มอบหัวเมืองทั้ง 4 ให้คือ เมืองแส[4] เมืองหย่งชาง เมืองหมูอาน เมืองปูขว้าน แล้วพระองค์ก็เดินทางกลับเมืองมาว

รวบรวมหัวเมืองไทยวน

หลังจากที่กลับจากยูนนาน เจ้าหลวงเสือข่านฟ้าก็ทรงยกทัพไปทางทิศตะวันออก เพื่อรวบรวมรัฐชน เผ่าไตในทิศตะวันออก และทรงยึดหัวเมืองไทยวน ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงรุ่ง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงตุง ลำพูน และละกอน[5]

รวบรวมเมืองเวสาลี

พ.ศ. 1862 เจ้าเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยพระอนุชาคือเข้าสามหลวงฟ้า และแม่ทัพ 3 คน คือ ฟ้าหลวงเท้าฟ้าหล่อ ฟ้าหลวงเท้าเสือเย็น ฟ้าหลวงท้าวหาญก่าย ยกทัพไปทางทิศตะวันตกตีเมืองเวสาลี หรือแคว้นอัสสัม และยกให้พระอนุชาครองเมือง

ยกทัพไปพม่า

พ.ศ. 1905 เจ้าเสือข่านฟ้าพร้อมด้วยพระโอรส คือ เจ้าชายเปี่ยมฟ้า และแม่ทัพ 3 คน คือ ฟ้าหลวงเท้าฟ้าหล่อ ฟ้าหลวงเท้าเสือเย็น ฟ้าหลวงท้าวหาญก่าย ยกทัพไปทางทิศตะวันตกตีเมืองตะโก้ง[6] เมืองสะแกง[7]และหัวเมือง พม่าอื่น ๆ และสามารถยึดได้ทั้งหมดปี พ.ศ. 1905

ใกล้เคียง

เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้าเวหา เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เจ้าเสือข่านฟ้า เจ้าเซ็น เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ เจ้าเดชา ณ ลำปาง เจ้าเติมศักดิ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์