พระประวัติ ของ เจ้าเหมพินธุไพจิตร

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร มีพระนามเดิมว่า เจ้าคำหยาด ไม่ทราบปีที่ประสูติ ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 กับ แม่เจ้าคำแปงราชเทวี

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 3 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน"
  • เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน - พิราลัยแต่เยาว์

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ใน พ.ศ. 2431 ต่อจาก เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ราชเชษฐาต่างราชมารดา และถึงแก่พิราลัยในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439[1] (นับเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) ภายหลังจากป่วยด้วยอาการอุจาระ ธาตุพิการ รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 5 ปี

ในขณะที่ท่านได้เป็นเจ้าครองนครลำพูนนั้น ท่านได้เป็นผู้นำราษฎรลำพูนให้เอาใจใส่ในการเกษตรกรรมทุกๆสาขา มีการปลูกข้าวและทดน้ำเข้านาสร้างเหมืองฝายมากมาย ปรับปรุงที่ดอนให้เป็นพื้นที่ราบ และ ขุดลอกเหมืองเก่าให้น้ำเข้านาได้สะดวก ที่ใดไม่มีเหมืองฝายก็สร้างเหมืองฝายใหม่เพื่อทดน้ำเข้านา พอข้าวเสร็จก็ปลูกหอมกระเทียมและใบยากันต่อไป

นอกจากนั้นท่านได้เป็นผู้นำในการบำรุงพระพุทธศาสนา ปรับปรุงวัดที่เก่าแก่ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม ชักชวนราษฎรปั้นอิฐ ก่อกำแพง สร้างวิหารกุฏิ โบสถ์ วัดวาอาราม บริเวณนอกเมืองและในเมืองลำพูน ชักชวนราษฎรสร้างสะพาน ยกร่องถนนในหมู่บ้านให้ล้อเกวียนเข้าได้ ขุดร่องระบายน้ำเวลาฝนตก

ใกล้เคียง

เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้าเวหา เจ้าเพชรราช รัตนวงศา เจ้าเสือข่านฟ้า เจ้าเซ็น เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ เจ้าเดชา ณ ลำปาง เจ้าเติมศักดิ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์