การเมือง ของ เชียรช่วง_กัลยาณมิตร

ดร.เชียรช่วง ได้เข้าไปร่วมงานเคยร่วมงานกับนายอานันท์ ปันยารชุน สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร และเคยร่วมงานกับพรรคพลังธรรมในปี พ.ศ. 2535 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยไม่มีบทบาทอะไรมาก และในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ดร.เชียรช่วง ได้เข้าไปทำงานด้านประชาสัมพันธ์ให้กับทางพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งในครั้งนั้นแข่งขันกับทางพรรคความหวังใหม่ โดยเป็นผู้คิดประโยคที่ว่า "ไม่เลือกเรา เขามาแน่"

ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดร.เชียรช่วง เป็นผู้หนึ่งที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล โดยเป็นผู้ต่อต้านกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ร่วมกับ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ และ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ดร.เชียรช่วงถูกกล่าวหาว่าถูกรับจ้างให้ทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับคณะมนตรีความมั่นคง (คมช.) ด้วยจำนวนเงินที่สูงถึง 12 ล้านบาท ด้วยความที่เป็นญาติผู้น้องของ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

การเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาราช

ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ได้รับการเลือกจากสมาชิกพรรคประชาราชให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทนที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ที่ลาออกไป แต่ในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 20 ตุลาคม ที่มีข่าวว่าพรรคประชาราช พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา จะรวมกันนั้น นายเสนาะได้กล่าวที่บ้านของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ซอยราชครูว่า ดร.เชียรช่วง มีตำแหน่งอยู่ในหลายบริษัท หลายที่ ที่อาจใช้การเมืองเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองได้ จึงไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขาธิการพรรค และได้ขอลาออกไป

ใกล้เคียง

เชียร์อัป เชียร์ลีดดิง เชียร์ลีดเดอร์ เมลิสซา เชียรช่วง กัลยาณมิตร เชียร์เคสสค์ เชียร์ฮาร์ตแอตแทก เชียร์ เชียร์ จี๊ด จี๊ด วี๊ดหวานเผ็ด เชียร์กาลา เชียร์ ฑิฆัมพร เชียร์ลีดเดอร์ (เพลง)