เซริฟ
เซริฟ

เซริฟ

ในไทโปรกราฟี, เซริฟ (อังกฤษ: Serif, /ˈsɛrf/) หมายถึงเส้นหรือขีดเล็ก ๆ ที่มักปรากฏติดอยู่กับปลายของเส้นที่ใหญ่กว่าในอักษรหรือสัญลักษณ์ ภายในฟอนต์หนึ่ง ๆ โดยไทป์เฟซหรือตระกูลฟอนต์ ("font family") ที่ใช้เซริฟนั้นจะเรียกว่าเป็น เซริฟไทป์เฟซ (อังกฤษ: Serif Typeface) ส่วนไทป์เฟซที่ไม่มีเซริฟจะเรียกว่าเป็น “แซนส์เซริฟ“ (อังกฤษ: Sans-serif) หรือชื่ออื่น ๆ โกรเทสก์ ("grotesque" หรือ "grotesk" ในภาษาเยอรมัน) และ "กอธิก"[1] ส่วนชื่ออื่นของฟอนต์เซริฟคือแบบ โรมันไทป์ (Roman Type)ในงานพิมพ์อักษรละตินนั้น ฟอนต์เซริฟนิมอย่างแพร่หลายในการใช้เป็นอักษรเนื้อความ (body text) เพราะมักอ่านง่านกว่าฟอนต์แบบแซนส์เซริฟ fonts in print.[2] อย่างไรก็ตามการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในประเด็นนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปให้ได้ คอลิน วีลเดิน (Colin Wheildon) ผู้ทำการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับฟอนต์เซริฟและแซนส์ตั้งแต่ปี 1982 ถึง 1990 พบว่าฟอนต์แบบแซนส์นั้นก่อให้เกิดความยากที่หลากหลายสำหรับผู้อ่าน ที่ส่งผลให้ความครอบคลุมนั้นบกพร่อง (created various difficulties for readers that impaired their comprehension)[3] ส่วนคัธลีน ติงเกล (Kathleen Tinkel) เสนอในงานศึกษาของเธอว่า “ไทป์เฟซแซนส์เซริฟส่วนใหญ่อาจอ่านออกได้น้อยกว่าไทป์เฟซเซริฟส่วนใหญ่ แต่... ความแตกต่างนี้จะเทียบกันเห็นในการจัดการทดลองที่ระมัดระวังมาก ๆ“ ("most sans serif typefaces may be slightly less legible than most serif faces, but ... the difference can be offset by careful setting")[4]