แซนส์เซริฟ
แซนส์เซริฟ

แซนส์เซริฟ

ในไทโปรกราฟีและการออกแบบอักษร แซนส์เซริฟ (อังกฤษ: Sans serif, Sans-serif), กอธิก (อังกฤษ: Gothic) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แซนส์ (อังกฤษ: Sans) เป็นรูปแบบอักษรที่ไม่มีแง่งยื่นออกจากปลายเส้นของตัวอักษรที่เรีกว่า “เซริฟ“ (อังกฤษ: Serif)[1] ฟอนต์แซนส์มีแนวโน้มที่จะมีความหนาของเส้นเท่ากันมากกว่าฟอนต์เซริฟ แซนส์มักใช้ในงานออกแบเพื่อแสดงถึงความเป็นสมัยใหม่และความเป็นมินิมัลฟนต์แซนส์กลายมาเป็นการแสดงผลตัวอักษรที่แพร่หลายที่สุดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะในสมัยที่คอมพิวเตอร์มีหน้าจอที่แสดงผลได้ในความละเอียดต่ำ รายละเอียดเล็กน้อยอย่าง เซริฟ ของตัวอักษรนั้นมักหายไปหรือแสดงผลใหญ่กว่าที่ควรเป็น คำว่าแซนส์นั้นมาจากภาษาฝรั่งเศส sans แปลว่า ปราศจาก ("without") ส่วน "serif" นั้นไม่มีที่มาที่แน่นอน คาดว่ามาจากภาษาดัตช์ schreef แปลว่า เส้น ("line") หรือ เส้นปากกา (pen-stroke) ในสื่อสิ่งพิมพ์ มักใช้ในงานจำพวกดิสเพลย์ และไม่ค่อยใช้เป็นอักษรเนื้อความ (body text)ก่อนที่คำว่า "sans-serif" จะเป็นที่แพร่หลายในไทโปรกราฟีภาษาอังกฤษ ชื่ออื่น ๆ ที่เรียกไทป์เฟซลักษณะเดียวกันนั้นมีมากมาย หนึ่งในนั้นคือ กอธิก ซึ่งยังคงใช้ในชื่อฟอนต์บางฟอนต์ของอักษรเอเชียตะวันออกและฟอนต์อื่น ๆ เช่น News Gothic, Highway Gothic, Trade Gothic