เชิงอรรถ ของ เซลล์ประสาทสั่งการแกมมา

  1. 1 2 reticular formation เป็นกลุ่มนิวเคลียสประสาทที่เชื่อมต่อกันโดยอยู่กระจายไปทั่วก้านสมองเป็นส่วนที่มีกายวิภาคไม่ชัดเจนเพราะรวมเซลล์ประสาทที่อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของสมองreticular formation มีบทบาทสำคัญยิ่งในการดำรงรักษาความตื่นตัวทางพฤติกรรมและความรู้สึกตัวหน้าที่รวมทั้งการปรับควบคุมและหน้าที่ทาง premotorเซลล์ประสาทด้านหน้า (rostral) โดยหลักมีหน้าที่ในการปรับควบคุม และเซลล์ประสาทด้านหลังโดยมากมีหน้าที่ทาง premotor
  2. ในสัตว์มีแกนสันหลังที่กำลังพัฒนา (รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง) ท่อประสาท (neural tube) เป็นส่วนตั้งต้น (precursor) ของระบบประสาทกลางซึ่งก็คือสมองกับไขสันหลังโดยร่องประสาท (neural groove) จะค่อย ๆ ลึกขึ้นและส่วนทบประสาท (neural fold) จะงอกขึ้น ๆ จนกระทั่งมาบรรจบเชื่อมกันตรงกลางเป็นการปิดร่องให้เป็นท่อประสาทในตัวอ่อนมนุษย์ในครรภ์ ท่อประสาทจะปิดกันอย่างนี้ปกติภายใน 4 อาทิตย์ (วันที่ 28 หลังปฏิสนธิ)กำแพงนอกสุด (ectodermal wall) ของท่อจะเป็นโครงพื้นฐานของระบบประสาทช่องตรงกลางของท่อก็คือ neural canal
  3. 1 2 ในสาขาอณูชีววิทยา transcription factor หรือ sequence-specific DNA-binding factor เป็นโปรตีนที่ควบคุมอัตราการถอดรหัสข้อมูลพันธุกรรมจากดีเอ็นเอให้เป็นเอ็มอาร์เอ็นเอโดยเข้าจับกับลำดับดีเอนเอโดยเฉพาะ ๆ[14][15]
  4. DNA-binding protein เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วย DNA-binding domain และดังนั้น จึงมีสัมพรรคภาพ (affinity) แบบโดยเฉพาะหรือโดยทั่วไปกับดีเอ็นเอแบบเส้นเดี่ยวหรือเส้นคู่[19][20]
  5. ในสาขาสรีรวิทยา คำว่า tonic หมายถึงการตอบสนองทางสรีรภาพที่ช้าและอาจมีหลายระดับคำนี้มักใช้ตรงข้ามกับการตอบสนองอย่างรวดเร็วยกตัวย่างเช่น กล้ามเนื้อแบบ tonic เทียบกับกล้ามเนื้อธรรมดาซึ่งกระตุกได้เร็วกว่า หรือปลายประสาทรับความรู้สึกแบบ tonic ซึ่งเทียบกับปลายประสาทแบบ phasic ซึ่งตอบสนองได้เร็วกว่า