เซลล์เบ็ตซ์
เซลล์เบ็ตซ์

เซลล์เบ็ตซ์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเซลล์เบ็ตซ์ (อังกฤษ: Betz cell, pyramidal cells of Betz) เป็นเซลล์ประสาทพีระมิดขนาดยักษ์ในชั้นที่ 5 ของเนื้อเทาในเปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex)มีชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ชาวยูเครน วลาดิเมียร์ เบ็ตซ์ (Vladimir Betz) ผู้ระบุลักษณะของเซลล์ในงานที่ตีพิมพ์ปี 1874[1]เป็นเซลล์ประสาทที่ใหญ่สุดในระบบประสาทกลาง บางครั้งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ไมโครเมตร (μm)[2][3]เซลล์เบ็ตซ์เป็นเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron, UMN) ที่ส่งแอกซอนลงไปยังไขสันหลังผ่านลำเส้นใยประสาทเปลือกสมอง-ไขสันหลัง (corticospinal tract) ในมนุษย์แอกซอนไปยุติที่ไซแนปส์กับเซลล์ประสาทในไขสันหลังปีกหน้า (anterior horn) ซึ่งก็ส่งแอกซอนไปยังกล้ามเนื้อที่เป็นเป้าหมายแม้เซลล์จะมีเดนไดรต์ที่เป็นยอดหนึ่งอันเหมือนกับเซลล์ประสาทพีระมิดทั่วไป แต่ก็มีก้านเดนไดรต์หลัก (primary dendritic shaft) หลายอัน ซึ่งสามารถงอกออกจากตัวเซลล์ (soma) เกือบได้ทุกจุด[4]เดนไดรต์รอบตัวเซลล์เช่นนี้บวกกับเดนไดรต์ที่ฐาน (basal dendrite) ส่งไปยังชั้นทุกชั้นในเปลือกสมอง แต่สาขาในแนวนอนจะส่งไปยังชั้นที่ 5 และ 6 โดยมีบางส่วนที่ส่งลงไปถึงเนื้อขาว[5]งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิของมนุษย์ชั้น 5b (Vb) เป็นเซลล์เบ็ตซ์ 10% ในบรรดาเซลล์พีระมิดทั้งหมด[6]

เซลล์เบ็ตซ์

เชื่อมต่อไปสู่ ปีกหน้า (ventral) ของไขสันหลัง
เชื่อมต่อมาจาก ชั้นผิว ๆ ของเปลือกสมองส่วน premotor
หน้าที่ เป็นเซลล์ประสาทส่งต่อ (projection neuron) กระแสประสาทไปยังไขสันหลัง
ตำแหน่ง เปลือกสมองสั่งการปฐมภูมิชั้นที่ 5 (Layer V)
สัณฐาน รูปพีระมิด มีหลายขั้ว (multipolar) เป็นเซลล์อย่างหนึ่งที่มีแอกซอนยาวสุดในร่างกาย
สารสื่อประสาท กลูตาเมต