ตัวอย่าง ของ เตตราโครมาซี

ปลา

ปลาทอง (Carassius auratus auratus)[5] และปลาม้าลาย (Danio rerio)[6]เป็นตัวอย่างของ tetrachromat ที่มีเซลล์รูปกรวยไวต่อสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และแสงอัลตราไวโอเลต

นก

นกบางสปีชีส์เช่น Taeniopygia guttata (อังกฤษ: Zebra Finch เป็นนกวงศ์นกกระติ๊ด) และนกวงศ์นกพิราบและนกเขา สามารถใช้แสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 300–400 nm ในการเห็นเพื่อประโยชน์ในการเลือกคู่และการหาอาหาร[7] เช่น นกที่มีขนและผิวหนังที่มีสีอัลตราไวโอเลตมักจะได้รับเลือกเป็นคู่[8] ตาปกติของนกจะตอบสนองต่อความยาวคลื่นที่ 300-700 nmซึ่งตรงกับความถี่ประมาณ 430-1,000 เทระเฮิรตซ์

แมลง

แมลงที่กำลังหาอาหารมีความสามารถในการเห็นแสงสะท้อนจากดอกไม้มีความยาวคลื่นประมาณ 300-700 nm[9][10]เนื่องจากการถ่ายโอนเรณู (Pollination) ในระหว่างแมลงและพืชดอกไม้เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน จึงมีการวิวัฒนาการร่วมกันระหว่างแมลงที่หาอาหารและพืชโดยการเพิ่มช่วงความยาวคลื่นในการเห็นของแมลง และในการสะท้อนแสง (คือสี) ของดอกไม้[4] Directional selection[11] (แปลว่า การคัดเลือกมีทิศทางเดียว) ทำให้พืชมีการแสดงสีต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าไปในระดับสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งดึงดูดสัตว์ที่เป็นพาหะถ่ายเรณูในระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป[4]

พาหะถ่ายเรณูบางประเภทอาจจะใช้การเห็นสีแบบ tetrachromatic เพื่อเพิ่มและรักษาความสำเร็จในการหาอาหารในระดับที่สูงกว่าคู่แข็งที่มีการเห็นแบบ trichromatic (คือแบบมีเซลล์รูปกรวยแค่ 3 ประเภท) [ต้องการอ้างอิง]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เตตราโครมาซี http://www.yorku.ca/evant/ETVancouvercolour.pdf http://www.digitaljournal.com/article/326976 http://www.frankverdoneod.com/whatsnew/bee-sees-uv... http://books.google.com/?id=mrgoAAAAYAAJ&q=tetrach... http://books.google.com/books?id=gN0UaSUTbnUC&pg=P... http://www.post-gazette.com/pg/06256/721190-114.st... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=w... http://theness.com/neurologicablog/index.php/tetra... http://www.klab.caltech.edu/cns186/papers/Jameson0... http://academic.evergreen.edu/curricular/anp07/Loo...