ที่มา ของ เตลกฏาหคาถา

ความเป็นมาของคาถานี้ มีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้ากัลยาณิยติสสะ ครองเมืองกัลยาณี ณ ลังกาทวีป ระหว่างพุทธราช 237 - 238 ทรงมีพระอนุชาเป็นอุปราชเคยศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระกัลยาณิยะเถระ จึงมีลายมือคล้ายพระเถระ ต่อมาพระอนุชาเกิดความสิเนหาในพระมเหสีของพระเชษฐาธิราช เมื่อความทราบถึงพระองค์ พระอนุชาจึงเสด็จหนีไป แต่ไม่นานนักรับสั่งให้ชายคนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระภิกษุในสำนักพระเถระติดตามพระเถระเข้าวัง พร้อมแอบซ่อนสาส์นรักไปเฝ้าพระมเหสี เมื่อพระภิกษุตัวปลอมฉันภัตตาหารแล้วลุกขึ้น ได้แอบโยนสาส์นรักให้พระมเหสี แต่บังเอิญพระราชาทอดพระเนตรเห็น และเข้าใจว่าเป็นสาส์นของพระเถระ จึงรับสั่งให้จับพระเถรโยนใส่กะทะน้ำมันที่เดือดพล่าน [1]

ในขณะที่พระเถรถูกโยนลงไปนั้น หลับปราฏแก้วอินทนิลผุดขึ้นมาเป็นที่นั่งรองรับในกะทะน้ำมัน พระเถระได้เจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันตผล เพื่อได้พิจารณากรรมเก่าของตนจึงทราบว่าในชาติก่อนเคยเป็นเด็กเลี้ยววัวและได้โยนแมลงวันตัวหนึ่งในน้ำนมที่เดือดพล่าน ครั้งนี้จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกรรมได้ ท่านจึงกล่าวคาถาเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์มิให้มัวเมาประมาท ก่อนที่จะปรินิพพานในที่นัน จากนั้น พระราชารับสั่งให้ประหารชีวิตพระเถระและบุรุษนั้นเสียแล้วให้โยนศพทิ้งทะเล [2]

ทว่า ในเวลาต่อมาศาสนิกชนได้สร้างวิหารเป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ไว้ ณ สถานที่ซึ่งตั้งกะทะนั้นมันนั้น [3] และทั้งนี้ เนื่องจากท่านกล่าวคาถาในกะทะน้ำมัน จึงปรากฏนามว่า เตลกฏาหคาถา แปลว่า "บทร้อยกรองที่กล่าวในกะทะน้ำมัน"

ใกล้เคียง