เต่ายักษ์เซเชลส์
เต่ายักษ์เซเชลส์

เต่ายักษ์เซเชลส์

เต่ายักษ์เซเชลส์ (อังกฤษ: Seychelles giant tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aldabrachelys hololissa) เป็นเต่าบกที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 เนื่องจากถิ่นที่อยู่บนหมู่เกาะเซเชลส์ถูกมนุษย์รุกรานอย่างหนัก ซึ่งเต่ายักษ์ชนิดอื่นๆที่ใกล้เคียงกันบนหมู่เกาะอื่นๆในมหาสมุทรอินเดีย อย่างเช่นมอริเชียส, เรอูนียง และ เกาะโรดริเกซ ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เต่ายักษ์ในมหาสมุทรอินเดียเพียงชนิดเดียวที่เหลือรอดมาได้คือ เต่ายักษ์อัลดาบร้า (A. gigantea) เนื่องจากมีถิ่นที่อยู่โดดเดี่ยวและมีกฎหมายคุ้มครองในศตวรรษที่ 19เต่ายักษ์เซเชลส์อาศัยอยู่บนหมู่เกาะเซเชลส์ กินพืชพรรณตามริมหนองและลำธารเป็นอาหาร เมื่อ ค.ศ. 1840 ได้สูญหายไปจากธรรมชาติ สันนิษฐานว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจนกระทั่ง ค.ศ. 1999 มีรายงานว่ายังคงมีเต่ายักษ์เซเชลส์บางส่วนหลงเหลืออยู่ภายใต้สถานที่เลี้ยง จากรายงานเกี่ยวกับเต่ารูปร่างประหลาด ทำให้ หน่วยงานปกป้องธรรมชาติแห่งเซเชลส์ ดำเนินการตรวจสอบเต่าเหล่านั้น ดร. จัสติน เกอร์เลช และ ลอรา เคนนิ่ง ได้เปรียบเทียบเต่าเหล่านั้นกับตัวอย่างของเต่ายักษ์เซเชลส์ที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว พบว่าเต่าบางตัวมีลักษณะตรงกับตัวอย่างอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้มีบทความทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพันธุ์ศาสตร์ของเต่าในเซเชลส์และมหาสมุทรอินเดีย ได้เสนอผลการค้นคว้าที่ขัดแย้งออกมา งานวิจัยบางส่วนบ่งชี้ว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีเต่ายักษ์ในภูมิภาคนี้เพียงชนิดเดียว ขณะที่อีกบางส่วนเสนอว่ามีเต่ายักษ์สามชนิดที่ใกล้เคียงกัน