เทวทาสี
เทวทาสี

เทวทาสี

ในอินเดียใต้ เทวทาสี (Devadasi) หมายถึงสตรีที่ถูกถวายเพื่อบูชาและรับใช้เทพเจ้าหรือเทวสถานตลอดชีวิต พิธีถวายนางเทวทาสีนั้นเรียกว่าพิธี ปตตุกัตตู (Pottukattu) พิธีกรรมซึ่งคล้ายกับพิธีวิวาหะหรืองานมงคลสมรส หน้าที่ของเทวทาสีนอกจากการดูแลเทวสถานและการประกอบพิธีกรรมแล้ว ยังต้องเรียนรู้และสามารถประกอบธรรมเนียมทางศิลปะของอินเดียได้ เช่น ภารตนาฏยัม (Bharatanatyam) กุจิปุดี (Kuchpudi) และโอฑิสสี (Odissi) เทวทาสีถือว่ามีตำแหน่งทางสังคมที่สูงอันเนื่องมาจากการร่ายรำและดนตรีที่จำเป็นต่อพิธีกรรมทางศาสนานั้นก็เป็นศิลปะชั้นสูงเช่นกัน คำว่า เทวทาสี แปลตรงตัวว่า ข้ารับใช้ (ที่เป็นสตรี) ของเทพเจ้า เกิดจากการรวมคำภาษาสันสกฤตสองคำคือ ทาสี (dasi) ซึ่งเป็นรูปสตรีของคำว่าทาส (das) อันแปลว่าผู้รับใช้ และคำว่า เทว (deva/dewa) แปลว่าเทพเจ้าหลังจากเข้ามาเป็นเทวทาสีแล้ว มักจะใช้เวลาไปกับการเรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนา และการร่ายรำ บ้างอาจมีบุตรกับนักบวชหรือเจ้าหน้าที่ในระดับสูงที่แนะนำและสอนพวกนางในเรื่องดนตรีและการร่ายรำหลังการเข้ามาของบริติชราช ได้สลายอำนาจของราชาในแต่ละแคว้นลง ส่งผลให้ชุมชนศิลปกรรมของเทวสถานซึ่งมักมีราชาเป็นองค์อุปถัมภ์เป็นอันต้องเสื่อมและเสียอำนาจตามไปด้วย ด้วยเหตุผลนี้จึงส่งผลให้เทวทาสีสูญเสียผู้อุปถัมภ์ไปตาม นักปฏิรูปจำนวนมากได้ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการออกระเบียบห้ามมีการถวายเทวทาสีให้แก่เทวสถาน และห้ามการเป็นเทวทาสีให้เป็นข้อคับทางกฏหมาย เจ้าอาณานิคมเกิดการถกเถียงขึ้นอย่างมาก ทั้งในหน่วยงานและนักวิชาการตะวันตก แต่ชาวบริเตนเจ้าอาณานิคมไม่สามารถแยกเทวทาสีออกจากนักเต้นริมทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนาออกได้ ส่งผลให้ศิลปะพื้นเมืองเสื่อมลงและขาดการสนับสนุน[1][2][3][4]หลังเทวทาสีเริ่มหายไปจากเทวสถานในอินเดียด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาก่อนหน้า ในที่สุดเมื่อปี 1988 ก็ได้มีการออกกฏหมายให้ระบบเทวทาสีถือเป็นสิ่งผิดกฏหมายในอินเดีย เป็นที่สิ้นสุดของระบบเทวทาสีนับตั้งแต่นั้นมา[5]