แนวปฏิบัติ ของ เทศกาลพ้อต่อ

ในช่วงเทศกาล ผู้คนจะจัดโต๊ะตั้งสำรับอาหารเพื่อเซ่นไหว้ บูชาวิญญาณบรรพบุรุษเอาไว้ โดยทั่วไปแล้วจะทำกันในตอนบ่ายของวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน อาหารเซ่นไหว้โดยมาก มักประกอบไปด้วย ปลา หมู เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ และขนมต่าง ๆ ซึ่งข้าวของที่ตั้งบนโต๊ะบูชาทุกอย่าง จะต้องมีธูปปักไว้อย่างละ 1 เล่มและบางคนก็นำประทัดมาจุดจำนวนมากจนเมื่อทำการเซ่นไหว้เสร็จแล้ว ก็จะทำการเผากระดาษเงิน อันหมายถึงการแจกจ่ายค่าเดินทาง ให้แก่เหล่าดวงวิญญาณบรรพบุรุษเหล่านั้นด้วย โดยมักมีขนมรูปเต่าสีแดง เรียกว่า อั่งกู รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้งของการทำบุญ

ส่วนการทำบุญแก่วิญญาณไร้ญาติ ถ้าไหว้ที่มูลนิธิ หรือที่วัดที่ประกอบพิธีกรรม ผู้คนจะนำอาหารมาตั้งไว้ให้แก่วิญญาณเหล่านั้นที่โต๊ะ ซึ่งคณะกรรมการจะจัดงานเตรียมไว้ให้ หากเป็นการไหว้วิญญาณไร้ญาติที่บ้านเรือน จะนิยมไหว้หลังจากตอนบ่ายไปแล้ว หรือไหว้ตอนพลบค่ำ โดยจะตั้งอาหารเครื่องเซ่นบนโต๊ะขนาดเล็กหรือบนพื้น เมื่อไหว้เสร็จแล้วก็จะนำอาหารมารับประทาน บุคคลที่ถือเคล็ด มีครูบาอาจารย์ ก็จะไม่นิยมทานกัน

ไหว้วิญญานเร่ร่อน

มีชื่อเรียกในภาษาฮกเกี้ยนว่า "ป้ายหมึงเข้า"(จีน: 拜門口)หรือ "ป่ายโฮ่เฮียตี่" (จีน: 拜好兄弟) ซึ่งโฮ่เฮียตี่ แปลว่า พี่น้องที่ดีใช่เรียกบรรดาดวงวิญญาณไม่มีญาติหลังจากไหว้ที่ศาลเจ้า หรือ สถานที่จัดงานเสร็จ ตามบ้าน หรือ ตามชุมชน จะนำอาหารกระดาษเงินกระดาษทองจำนวนมากที่จัดเตรียมไว้ มาจัดกองไว้บนโต๊ะหรือที่พื้นหน้าบ้านที่เตรียมไว้ ช่วงเวลาไหว้คือตั้งแต่ตอนบ่าย ๆ ได้ถึงเวลา 3 ทุ่ม โดยการไหว้นั้นจะนำเอาปึกกระดาษเงินกระดาษทองวางไว้สี่มุมของโต๊ะ แล้วนำธูป 1 ดอก เทียน 2 เล่ม ปักลงปึกกระดาษทุกปึก และจะมีการจุดเทียน หรือ ตะเกียงหลาย ๆ ดวง อาหารทุกชนิดต้องปักธงที่มีการเขียนอักษรไว้ด้วย พอไหว้เสร็จจะนิยมเผ่ากระดาษกันหลังพระอาทิตย์ตก โดยนำกระดาษมากองรวมกันแล้วจุดไฟเผ่า ห้ามดับไฟจนกว่ากระดาษจะมอดดับไปเองเนื่องจากการไหว้วิญญานเร่ร่อน ปัจจุบันมีการจัดร่วมในพิธีพ้อต่อตามศาลเจ้า หรือ สถานที่จัดงาน เพราะสะดวกไม่วุ่นวาย แล้วไม่เป็นการสิ้นเปลืองทรัพย์มาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นการไหว้ผีไม่มีญาติตามบ้านเรือนเหมือนในอดีตนัก

นอกจากนี้ในช่วงเวลา 1 เดือนที่ประตูผีเปิดออก ผู้คนจะรีบกลับมาอยู่ในบ้านหลังพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง เคราะห์หามยามร้ายที่อาจเกิดขึ้น หากถูกดวงวิญญาณเหล่านั้น ชง (ทำให้เกิดสิ่งไม่ดี)

แต่ในปัจจุบัน เมื่อวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป เรื่องความเชื่อที่จะอยู่กันภายในบ้านหลังพระอาทิตย์ตก ก็ค่อย ๆ เสื่อมคลายลง คงไว้แต่การเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และการทำทานแก่วิญญาณไร้ญาติ

การประดับด้วยโคมไฟ

เทศกาลนี้เรียกอีกอย่าว่า เทศกาล ตงหงวน จะมีการประดับโคมไฟต่าง ๆ อย่างสวยงาม ตามท้องถนน บ้านเรือน ศาลเจ้า มีความเชื่อว่าเป็นส่องแสงสว่างให้แก่เหล่าวิญญาน ที่ขึ้นมาจากปรภพให้ได้เห็นแสงสว่าง ยิ่งสว่างเท่าไร ดวงวิญญานก็จะยิ่งมารับส่วนกุลศลได้มากขึ้น จึงทำให้สถานที่จัดงานเต้มไปด้วยสีแสงจากโคมไฟ

โคมแต่ละดวงและเขียนข้อความว่า(ตัวเต็ม: 普度陰光, ตัวย่อ: 普度阴光, พินอิน: Pǔ dù yīn guāng ผูตู้อินกวัง, ฮกเกี้ยน: พ้อต่อเย่งก่อง)(ตัวเต็ม: 慶讃中元, ตัวย่อ: 庆讃中元, พินอิน: Qìng zàn zhōng yuán ชิ่งจั้นจงเหฺยฺวียน, ฮกเกี้ยน: เค่งจั๋นตงหงวน )(ตัวเต็ม: 超生普度, ตัวย่อ: 超生普度, พินอิน: Chāo shēng pǔ dù ชาวเซิงผูตู้, ฮกเกี้ยน: จ้าวเซ่งพ้อต่อ)

การเซ่นไหว้ด้วยอั่งกูโก้ย

อั่งกูโก้ย (อักษรจีน: 紅龜糕 ตามศัพท์แปลว่า ขนมเต่าแดง) คือขนมที่มีลักษณะเป็นรูปเต่า ทำจากแป้งข้าวสาลี ผสมกับน้ำตาล ก่อนจะถูกปั้น หรืออัดเข้าแบบพิมพ์เป็นรูปเต่า แล้วทาสีแดงทั่วทั้งตัวเต่า อั่งกูมีขนาดหลากหลายทั้งเล็กทั้งใหญ่ ใช้เป็นของเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อว่า เต่า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานที่กล่าวว่าเต่าเป็นสัตว์ที่ช่วยให้พระถังซำจั๋งสามารถเดินทางไปแสวงบุญที่เกาะลังกาได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าการทำบุญด้วยอั่งกูนี้ จะช่วยให้ผู้ทำบุญมีอายุยืนเหมือนเต่าอีกด้วย

ใกล้เคียง

เทศกาลกินเจ เทศกาลดนตรีพัทยา เทศกาลพ้อต่อ เทศกาลของชาวยิว เทศกาลดนตรีและศิลปะโคเชลลาแวลลีย์ เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย เทศกาลโคมไฟ เทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลภาพยนตร์กาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทศกาลพ้อต่อ http://travel.sina.com.cn/world/2009-09-05/1552105... //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B9%80%E0%B8%97%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B9%80%E0%B8%97%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B9%80%E... http://yutphuket.wordpress.com/2008/08/26/portor/ http://www.somboon.info/default.asp?content=conten... http://blog.tourismthailand.org/ninemot/?p=105 http://lib.kru.ac.th/bsru/48/rLocal04/stories.php?...