ผลงานของเทศบาล ของ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่าพันไร่ เดิมทีพื้นที่ส่วนนี้เคยเป็น "สวนราชฤดี" มาก่อน บริเวณโดยรอบสวนสาธารณะร่มรื่น ด้วยดอกไม้และพันธุ์ไม้หลายชนิด ภายในสวนฯ ยังประกอบไปด้วย สวนสัตว์เปิด สวนนก พันธุ์สัตว์หายากนานาชนิด สระน้ำขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่ร่มรื่นอันเป็นที่พักอาศัยของนกที่อพยพเข้ามา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งช่วยสืบสานประเพณีอันดี นั่นคือ จะถูกใช้เป็นที่จัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ในเดือนกันยายนของทุกปี และมีการแสดงคอนเสิร์ตภายในอาคาร "พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ" ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งภายในจังหวัดตลอดจนในประเทศ [14]

ในปี 2546 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงอาคารวีรไทย ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ทุ่งท่าลาด และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมือง โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยราชการและเอกชน ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่น และเมื่อเปิดทำการก็ได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้น เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช มีความสมบูรณ์แบบ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติเมืองและวิถีชีวิตครบถ้วน จึงได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม โดยใช้วิธีจัดแสดงด้วยสื่ออันทันสมัย เพื่อสร้างความน่าสนใจ ให้ผู้ชมเรียนรู้จดจำได้ง่าย อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมและบรรลุวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์เมือง [15]

โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2547 ณ อาคารของศูนย์บริการสาธารณสุข หอนาฬิกา เลขที่ 479 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยปรับปรุงอาคารซึ่งมีอยู่เดิมให้เป็นสัดส่วนสำหรับการบริการประชาชน ตามแนวคิดและนโยบายการบริหารงานด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล ของนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี โดยปรับเปลี่ยนและขยายการบริการด้านการรักษาพยาบาล จากรูปแบบเดิมที่ดำเนินการอยู่เพียงในรูปแบบของศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งมีจำนวน 6 ศูนย์และมีศูนย์เทศบาลสาขา อีกจำนวน 10 สาขา และมีพยาบาลวิชาชีพเป็นตัวหลักในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และมีแพทย์ให้บริการในบางเวลา อันเป็นการไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ที่ต้องการเข้ารับการตรวจรักษาที่มีมาตรฐานการรักษาที่สูงกว่าและสามารถเข้าถึงการแพทย์ได้โดยตรง มีแพทย์ปริญญาเป็นผู้ทำการตรวจรักษา ประกอบกับสถานะความเป็นอยู่ของประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ยังมีฐานะยากจนและเมื่อเกิดการเจ็บป่วยยังไม่สามารถเข้าถึงการแพทย์ที่ถูกต้องได้ ความจำเป็นและความต้องการของประชาชนเช่นนี้ เทศบาลซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องเป็นผู้ดูแล เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภายใต้การบริหารงานของนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี จึงได้จัดตั้งโรงพยาบาลเทศบาล ขนาด 30 เตียงขึ้น ด้วยความเห็นพ้องต้องกันและสนับสนุนจาก โรงพยาบาลมหาราชนครนครศรีธรรมราช และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนคณะกรรมการกลั่นกรองการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราชตั้งอยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ติดกับบริเวณสวนหย่อมหอนาฬิกา มีอาคารประกอบจำนวน 3 หลัง เป็นตึก 3 ชั้น ขนาดกว้าง 12 เมตรยาว 16 เมตรจำนวน 1 หลัง จัดเป็นส่วนบริการของงานเวชระเบียนห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจจำนวน 3 ห้อง ห้องชันสูตรทางสาธารณสุข ห้องจ่ายยา ส่วนของกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ งานทันตกรรม ห้องพักแพทย์ ส่วนงานบริหารและห้องประชุมอาคารผู้ป่วยในชั้นเดียว ขนาดกว้าง 12 เมตรยาว 20 เมตร จำนวน 1 หลังและอาคาร 2 ชั้นขนาดกว้าง 6 เมตรยาว 18 เมตร จำนวน 1 หลังซึ่งเป็นอาคารเดิมของสุขศาลาที่สร้างอุทิศโดย คุณผัน ณ นคร จัดเป็นส่วนของผู้ป่วยใน ห้อง X-Ray ศูนย์บริการพิเศษ 20,000 เตียง และชั้นบนเป็นส่วนของสต๊อกยาและเวชภัณฑ์ ขณะนี้มีอีกหนึ่งโครงการที่ทางเทศบาลกำลังดำเนินการคือ อาคารผู้ป่วย 4 ชั้น ซึ่งเริ่มก่อสร้างแล้วและจะเสร็จภายใน 240 วัน[16]

  • โรงเรียนเทศบาล
  • ศูนย์การเรียนรู้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช (CLP) อยู่บริเวณสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง การคมนาคมสะดวกและปลอดภัย เยาวชนสามารถเดินทางมาได้เอง ด้วยรถโดยสารประจำทาง รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และการเดินเท้า ลักษณะอาคารเป็นอาคารสองชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 2,000 ตารางเมตร มีดาดฟ้าเป็นลานโล่ง ผนังส่วนใหญ่เป็นกระจกใส มองจากภายนอกเห็นผู้เข้าใช้บริการและกิจกรรมภายในที่กำลังดำเนินอยู่อย่างชัดเจน สื่อถึงความทันสมัย มีชีวิตชีวา ปลอดภัยและตรงไปตรงมา การตกแต่งภายในอุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช ได้รับแรงบันดาลใจจากเยาวชนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นซึ่งมาร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อช่วยกันสร้างให้เป็นพื้นที่ของเยาวชนอย่างแท้จริง โดยได้บทสรุปว่าอุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช หรือ CLP เป็นบรรยากาศของ "สวนแห่งความรู้" ออกแบบภายในให้เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก คือสวนสาธารณะที่มีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก การตกแต่งภายในประกอบด้วยสีอ่อนหลากสีบริเวณผนังแต่ละพื้นที่ และการจัดแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อสร้างความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย เมื่อสัมผัสโดยรวม มีการเน้นสีสดด้วยเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ที่มีรูปแบบทันสมัยเพื่อสร้างความรู้สึกมีชีวิตชีวา สร้างบรรยากาศการตื่นตัว กระตือรือร้นเพื่อเรียนรู้ พื้นที่ภายในแบ่งเป็นสองลักษณะ คือ พื้นที่ที่สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรมเฉพาะต่างๆ ที่มีการแยกส่วนอย่างชัดเจน และพื้นที่เอนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ มีเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและเคลื่อนย้ายได้ง่าย [17]
  • สวนสาธารณะศรีธรรมโศกราช
  • การบูรณะกำแพงเมืองเก่า
  • สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ถนนคนเดิน (ถนนธนารักษ์)

ใกล้เคียง

เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครในประเทศไทย เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลนครอุบลราชธานี เทศบาลนครอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ftp://dossier.ogp.noaa.gov/GCOS/WMO-Normals/RA-II/... http://www.hotelsguidethailand.com/travel/travel_d... http://www.marclp.com/mainpage.php?file=main_about... http://www.nakhonmuseum.com/history.php http://hospital.nakhoncity.org/come.html http://www.nakhoncity.org/ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/30... http://www.southongtong.ac.th/ http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/v...