สัตว์สงวน ของ เนื้อทราย

เนื้อทราย เคยเป็นสัตว์ป่าสงวนในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2509 และถูกถอดชื่อออกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในปริมาณที่มากจำนวนหนึ่ง แต่สถานะในธรรมชาติในประเทศไทย เชื่อว่าในปัจจุบันเหลือเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือ ห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะที่ภูเขียว เป็นสถานที่ที่มีเนื้อทรายอยู่มากที่สุด จากการเพาะขยายพันธุ์และสืบพันธุ์เองตามธรรมชาติจากพ่อแม่พันธุ์ที่เกิดจากการเพาะโดยมนุษย์ที่ถูกปล่อย

เนื้อทราย ตามคติของคนไทย ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาสวย จึงมีคำเปรียบเปรยว่า "ตาสวยดังเนื้อทราย"

เนื้อทราย ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กวางแขม", "ลำโอง" และ "กวางทราย"[2]

หมายเหตุ: เดิมเนื้อทรายเคยถูกแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ เนื้อทรายอินเดีย (Hyelaphus porcinus porcinus) และเนื้อทรายอินโดจีน (Hyelaphus porcinus annamiticus) แต่ปัจจุบันเห็นว่าควรแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก[3]