เบอร์ซัม
เบอร์ซัม

เบอร์ซัม

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเบอร์ซัม (อังกฤษ: Burzum) เป็นชื่อโปรเจกต์เพลงแนวแบล็กเมทัล โดยวาร์จ วิเคอร์เนส (Varg Vikernes) โปรเจกต์ของเข้าเริ่มต้นในปี 1991 ณ เมืองแบร์เกน ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อวงการเพลงแบล็คเมทัลในประเทศนอร์เวย์ (Norwegian black metal)[1] ในปี 1992 และ 1993 เบอร์ซัมได้ออกอัลบั้มมาทั้งหมด 4 ชุด และวิเคอร์เนส ก็ได้ถูกจำกุมในข้อหาก่อเป็นผู้ขับเคลื่นอำนาจฝั่งขวา (Axis power) เผาโบสถ์ไม้คาทอลิกสี่แห่ง โดยเขายังถ่ายรูปโบสถ์ที่เหลือแต่ซากมาออกเป็นหน้าปกอีพี "อาสค์" (Aske) ในปี 1993[2][3] และฆาตรกรรมนายเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์เลื่องชื่อของวงเมย์เฮม ที่เคยเล่นกีตาร์ร่วมบันทึกเสียงให้อัลบั้มเบอร์ซัมให้ด้วย ในระหว่างติดคุก 21 ปีวิเคอร์เนสไม่หยุดทำเพลงระหว่างอยู่ในเรือนจำ มิหนำซ้ายังได้ออกอัลบั้มอีกสองชุดคำว่า "เบอร์ซัม" ยืมมาจากภาษาของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายแฟนตาซีเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งแปลว่า "ความมืด"[4]แนวดนตรีของเบอร์ซัม อยู่บนพื้นฐานของแนว Norwegian black metal ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ ริฟกีตาร์ที่เร็วและดุดัน เสียงร้องที่แผดแห้งเหมือนเสียงจากนรก และกระเดื่องกลองที่รัวดั่งฝีเท้าของม้าป่า เพลงส่วนใหญ่ของเบอร์ซัมนั้นจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานชาวไวกิงค์โบราณซึ่งมีพฤติกรรมและความเชื่อขัดต่อศาสนาคริสต์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งวิเคอร์เนส หลงใหลมาก เนื้อเพลงทั้งหมดถูกถ่ายทอดออกมาในภาษาไวกิงค์ (Norse language) และภาษา Orc (ชนเผ่านักรบที่โหดร้าย นำร่างสุนัขป่าและหมีมาคลุมร่างกายระหว่างการเข้าโจมตี อาศัยอยู่ในป่าประเทศสก๊อตแลนด์)การอัดเสียงเกือบทั้งหมดทำโดยวิเคอร์เนสเพียงคนเดียว ซึ่งเขาไม่มีทั้งกีตาร์ เบส หรือกลอง แต่เขาใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงแต่งทำนองประกอบเอาเอง เบอร์ซัมไม่เคยเล่นคอนเสิร์ต และตัววิเคอร์เนสเองก็ไม่เคยคิดที่จะลงเล่นคอนเสิร์ตด้วย

เบอร์ซัม

ส่วนเกี่ยวข้อง เมย์เฮม, โอลด์ ฟิวเนอเริล, ดาร์คโทร์น, อิมมอร์ทัล, ธอร์นส์
เว็บไซต์ burzum.org
ที่เกิด แบร์เกน, นอร์เวย์
ค่ายเพลง Deathlike Silence, Cymophane, Misanthropy, Byelobog
สมาชิก วาร์จ วิเคอร์เนส
ช่วงปี 1991 – 1999
2009 – ปัจจุบัน
แนวเพลง แบล็กเมทัล, โฟร์คเมทัล, นีโอ-เมดิวัล มิวสิก, ดาร์ค แอมบิเอินท์, ดนตรีทดลอง