ประวัติ ของ เบียร์

รูปสลักไม้อียิปต์ที่แสดงถึงการผลิตเบียร์ในยุคอียิปต์โบราณจากพิพิธภัณฑ์อียิปต์โรซิครูเซียน แซนโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย

เบียร์เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการเตรียมการก่อนดื่มที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สามารถนับย้อนกลับไปได้ถึงต้นยุคหินใหม่หรือราว 9500 ปีก่อนคริสตกาลเมื่อเมล็ดธัญพืชถูกนำมาเพาะปลูกครั้งแรก[1] และได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียและอียิปต์โบราณ[2] นักโบราณคดีคาดว่าเบียร์มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวของอารยธรรม[3] เห็นได้จากเมื่อราว 5000 ปีต่อมา คนงานในเมืองอูรุกได้รับเบียร์เป็นค่าจ้าง[4] และระหว่างการก่อสร้างมหาปิรามิดในกิซา คนงานแต่ละคนได้รับปันส่วนประจำวันเป็นเบียร์สี่ถึงห้าลิตร ซึ่งช่วยทั้งโภชนาการและทำให้สดชื่นเป็นส่วนสำคัญต่อการก่อสร้างปิรามิด[5]

หลักฐานแรกสุดทางเคมีของเบียร์ข้าวบาร์เลย์อยู่ในช่วง 3500–3100 ปีก่อนคริสตกาลจากแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี โกดิน เทปี (Godin Tepe) ในภูเขาแซกรอส (Zagros) ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน[6][7] บางส่วนของงานเขียนชาวซูมาเรียนมีการอ้างอิงถึงเบียร์ ตัวอย่างเช่น คำอธิษฐานถึงเทพีนินกาซิ (Ninkasi) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เพลงสวดนินกาซิ"[8] ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำอธิษฐานและวิธีจดจำสูตรเบียร์ในวัฒนธรรมของผู้มีการศึกษา[9][10] และคำแนะนำโบราณ (กรอกท้องของคุณทั้งวันและคืนทำให้มีความสุข) ถึงกิลกาเมช ที่บันทึกไว้ในมหากาพย์กิลกาเมชโดยชิดูรี (Sidur) ซึ่งอาจอ้างถึงการดื่มเบียร์[11] แผ่นจาลึกอัลบลา (Ebla tablets) ที่ค้นพบในปี ค.ศ. ในอาณาจักรอัลบลา ประเทศซีเรีย แสดงว่าเบียร์ถูกผลิตขึ้นในเมื่องเมื่อ 2500 ปีก่อนคริสตกาล[12] เครื่องดื่มหมักที่ใช้ข้าวและผลไม้ในการผลิตในประเทศจีนเกิดขึ้นประมาณ 7000 ปีก่อนคริสตกาล

ประวัติการผลิตเบียร์ในประเทศไทย

ประเทศไทยนั้น เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์. ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521

ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีโรงงานเบียร์แห่งที่สองแล้ว ภาครัฐก็ไม่ได้มีการสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าเบียร์เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และตั้งกำแพงภาษีเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ผลิตในประเทศ จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 ภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีทางการค้า โดยการเปลี่ยนเงื่อนไขของผู้ผลิตเบียร์ จากที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเบียร์ในประเทศไทย ได้แก่

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบียร์ http://www.britannica.com/eb/article-66615/beer http://www.cbsnews.com/news/archeologists-link-ris... http://www.lifeslittlemysteries.com/when-was-beer-... http://www.smithsonianmag.com/history/the-beer-arc... //doi.org/10.1086%2F369806 http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK23/chapter10/t2... https://www.newscientist.com/article/2094658-the-w... https://www.nytimes.com/1992/11/05/world/jar-in-ir... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Beer?u...