เบเลมไนต์
เบเลมไนต์

เบเลมไนต์

Aulacocerida
Phragmoteuthida
Belemnitida
Diplobelida
Belemnoteuthinaเบเลมไนต์ (หรือเบเลมนอยด์) เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลพวกเซฟาโลพอดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีลักษณะคล้ายกับหมึกกระดอง (cuttlefish) และหมึกกล้วย (squid) ในปัจจุบันมาก เบเลมไนต์เหมือนกับหมึกทั้งสองคือมีถุงหมึก แต่ไม่เหมือนหมึกกล้วยที่เบเลมไนต์มีแขน 10 แขนที่มีความยาวเกือบเท่ากันทั้งหมดแต่ไม่มีหนวด (tentacle)เบเลมไนต์พบมากในช่วงยุคจูแรสซิกและยุคครีเทเชียสโดยพบเป็นซากดึกดำบรรพ์พบมากทั้งมหายุคมีโซโซอิกโดยมักพบร่วมกับญาติๆใกล้ชิดของมันอย่างแอมโมไนต์ เบเลมไนต์ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียสไปพร้อมๆกับแอมโมไนต์ ต้นกำเนิดของเบเลมไนต์อยู่ระหว่างนอติลอยด์อันดับแบคทรีติดาในยุคดีโวเนียน ส่วนของการ์ดของเบเลมไนต์สามารถพบได้ในชั้นหินตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นเรื่อยมาจนถึงยุคครีเทเชียสร่วมกับซากดึกดำบรรพ์ของเซฟาโลพอดอื่นๆได้แก่บาคูไลต์ นอติลอยด์ และโกนิเอไทต์ปกติแล้วซากดึกดำบรรพ์ของเบเลมไนต์จะพบเฉพาะส่วนหลังของเปลือกกระดองที่เรียกกันว่า “การ์ด” หรือ “รอสตรัม” การ์ดนี้มีรูปร่างคล้ายกระสุนยาว มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกโดยปลายด้านหนึ่งจะแหลมหรือโค้งมน ที่ด้านหน้าของการ์ดจะเป็นรูกลวงเรียกว่า “อัลวีโอลัส” ซึ่งเป็นส่วนของเปลือกกระดองที่เป็นห้องรูปกรวยเรียกว่า “แฟรกโมโคน” ส่วนของแฟรกโมโคนนี้ปรกติจะพบเป็นชิ้นตัวอย่างในสภาพที่ดี ส่วนปลายด้านตรงข้ามกับแฟรกโมโคนจะเป็น “โปร-ออสทราคัม” บางๆแฟรกโมโคนของเบเลมไนต์ก็เหมือนกับเปลือกกระดองของเซฟาโลพอดทั้งหลายที่ประกอบด้วยแร่อะราโกไนต์ การ์ดของเบเลมไนต์ประกอบขึ้นด้วยแร่แคลไซต์ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในสภาพที่สมบูรณ์ได้ การ์ดที่แตกหักได้แสดงโครงสร้างของเส้นใยแร่แคลไซต์เรียงตัวในแนวรัศมีและอาจแสดงเส้นเติบโตเป็นเส้นวงกลมซ้อนกันหลายๆวง ในเนื้อของการ์ดเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีไอโซโทป ซึ่งการ์ดของเบเลมไนต์จากหมวดหินปีดียุคครีเทเชียส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกานั้นได้ถูกใช้เป็นมาตรฐานโลก (*PDB*) ในการเทียบเคียงกับตัวอย่างที่จะทำการวัดค่าทางธรณีเคมีไอโซโทปทั้งของไอโซโทปของคาร์บอนและไอโซโทปของออกซิเจนการ์ด แฟรกโมโคน และโปร-ออสทราคัม เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของตัวเบเลมไนต์ที่มีชีวิตเหมือนดังเป็นโครงกระดูกที่ถูกห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อโดยรอบทั้งหมด ตัวมีชีวิตจริงๆจึงมีขนาดใหญ่กว่าเปลือกกระดองที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์และมีรูปร่างยาวที่ลู่ไปตามน้ำพร้อมด้วยดวงตาที่โดดเด่น การ์ดจะอยู่ต่อจากส่วนท้ายของตัวเบเลมไนต์โดยมีแฟรกโมโคนอยู่ด้านหลังของส่วนหัวที่ชี้ปลายไปทางด้านหลัง การ์ดของเบเลมไนต์ “เมกะทิวธิส จิแจนตี” ที่พบในยุโรปและเอเชียวัดความยาวได้ถึง 46 ซม. ทำให้ประมาณได้ว่าตัวเบเลมไนต์มีชีวิตจะมีความยาวของลำตัวได้ถึง 3 เมตร พบชิ้นตัวอย่างจำนวนมากของเบเลมไนต์ที่มีส่วนเนื้อเยื่ออ่อนของสัตว์ที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ บางที่มีการพบส่วนของการ์ดรูปร่างคล้ายกระสุนสะสมตัวกันอย่างหนาแน่นซึ่งเรียกกันอย่างกึ่งทางการว่า “สมรภูมิเบเลมไนต์ (belemnite battlefield)” (ที่ประกอบไปด้วยพวกออร์โธเซอแรส) การสะสมตัวกันดังกล่าวนี้ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะหมายถึงเหตุการณ์ตายหมู่ครั้งใหญ่ที่กองทับถมกันเป็นแผ่นหนาซึ่งก็พบได้ในเซฟาโลพอดในปัจจุบันและรวมถึงพวกเซเมลพาเรียสอื่นๆเบเลมไนต์บางชนิด (อย่างเช่นสกุล “เบเลมไนต์”) ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดหินชอร์คยุคครีเทเชียสของยุโรปที่ช่วยให้นักธรณีวิทยาทราบอายุของชั้นหินได้เบเลมไนต์มีลักษณะที่เหมือนกับหมึกกล้วยในปัจจุบัน คือแขนของมันจะมีชุดของตะขอเล็กๆสำหรับใช้จับเหยื่อ เบเลมไนต์นั้นถือเป็นสัตว์กินเนื้อที่สามารถ โดยจับเหยื่อพวกปลาและสัตว์ทะเลอื่นๆด้วยมือของมันและกินเหยื่อด้วยขากรรไกรที่เหมือนจะงอย ในทางกลับกันเบเลมไนต์เองก็ตกเป็นอาหารของสัตว์เลื้อยคลานทะเลอย่างเช่นอิชธีโยซอร์ที่มีการพบกระเพาะอาหารกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีตะขอของแร่ฟอสเฟตที่มาจากแขนของเซฟาโลพอดพวกนี้