องค์ประกอบภายในเพชรพระอุมา ของ เพชรพระอุมา

เส้นทางการเดินทาง

เส้นทางการเดินทางในการออกติดตามค้นหาบุคคลผู้สูญหายและขุมทรัพย์เพชรพระอุมา รวมทั้งระยะเวลาในการออกติดตามค้นหาซากเครื่องบินและระเบิดนิวเคลียร์ ตามระยะเวลาในบทประพันธ์ของพนมเทียนในช่วงของระยะเวลาในการเดินทางของเพชรพระอุมาภาคแรกคือ 147 วัน โดยแบ่งออกเป็นช่วงระยะเวลาทั้งหมด 4 ช่วงด้วยกันคือช่วงที่ 1 จำนวน 20 วัน นับตั้งแต่รพินทร์ ไพรวัลย์และคณะนายจ้าง ใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัวก่อนเดินทาง ช่วงที่ 2 จำนวน 67 วัน นับตั้งแต่ในการเริ่มการเดินทางจากหนองน้ำแห้ง ช่วงที่ 3 จำนวน 42 วัน นับตั้งแต่คณะเดินทางออกจากหล่มช้าง และช่วงที่ 4 จำนวน 18 วัน นับตั้งแต่คณะเดินทางอยู่บริเวณถันพระอุมาและออกจากเมืองมรกตนคร และช่วงระยะเวลาในการเดินทางของเพชรพระอุมาภาคสมบูรณ์คือ 31 วัน[21]

ซึ่งตลอดเส้นทางการเดินทางของรพินทร์และคณะเดินทาง ตั้งแต่ก้าวแรกของการเดินทางจากหนองน้ำแห้ง ผ่านจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นจุดที่พนมเทียนได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการและสถานที่จริงบางแห่ง เช่นหมู่บ้านหนองน้ำแห้ง เป็นสถานที่จริงที่ตั้งอยู่แห่งหนึ่งชื่อหนองแห้งในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นหมู่บ้านของชาวบ้านป่าที่ไม่มีสำมะโนประชากร [22] พนมเทียนก็ได้เก็บเอาลักษณะของคนภายในหมู่บ้านที่เป็นชาวป่า มีถิ่นอาศัยและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มาถ่ายทอดเป็นหมู่บ้านหนองน้ำแห้งของรพินทร์ ไพรวัลย์

การเดินป่า ล่าสัตว์ แกะรอย

พนมเทียนได้กำหนดให้ตัวละครต่าง ๆ เช่น รพินทร์ ไพรวัลย์ แงซาย ดารินหรือบุคคลภายในคณะเดินทาง มีความชำนาญคล่องแคล่วในการล่าสัตว์รวมทั้งมีความสามารถและทักษะในเชิงพรานด้านแกะรอย สามารถระบุถึงชนิดของสัตว์ที่เป็นเจ้าของรอยเท้าที่ปรากฏบนพื้นดิน ระยะเวลาของรอยเท้าที่ปรากฏหรือการสังเกตการฉีกขาดของกิ่งไม้ในที่สูงว่าเกิดจากสาเหตุใด รวมทั้งต้องพบเจอกับเหล่าสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากภายในป่า ตลอดจนการต่อสู้ไล่ล่าระหว่างสัตว์และมนุษย์

นอกจากนี้ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของพรานป่าล่าสัตว์ในการดำรงชีวิตในป่า ที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ในความชำนาญเกี่ยวกับถิ่นอาศัยและสภาพแวดล้อมของป่าภายในประเทศไทย ความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศและสภาพอากาศตามแต่ลักษณะของป่า เช่น ป่าดงดิบและป่าผลัดใบ[23] ลักษณะของรอยเท้าและหลักสำคัญในการสะกดรอยตาม โดยทักษะในเชิงพรานทั้งหมดของตัวละคร มาจากการที่พนมเทียนนำเอาทักษะและประสบการณ์จริงของตนเองมาถ่ายทอดลงในนวนิยาย เช่นเทคนิคการสังเกตตำแหน่งของการเดินป่า การสังเกตรอยเท้าของสัตว์ การสังเกตลักษณะของพืชและสัตว์ ตำแหน่งของทิศทาง รวมไปถึงศิลปะในการล่าสัตว์ของพรานป่าในสมัยก่อน[24]

อาวุธปืน

ดูบทความหลักที่: อาวุธปืนในเพชรพระอุมา

พนมเทียนเป็นนักเดินป่าและล่าสัตว์ที่มีประสบการณ์ในการใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนเป็นอย่างดี และได้นำเอาทักษะรวมทั้งประสบการณ์จริงในการเดินป่าของตนเอง มาถ่ายทอดลงในเพชรพระอุมา ให้ตัวละครต่าง ๆ เช่น รพินทร์ ไพรวัลย์ หม่อมราชวงศ์ดาริน วราฤทธิ์ หรือ แงซาย มีความสามารถและความชำนาญในฝีมือการยิงปืน รวมทั้งอาวุธปืนในแต่ละรุ่น วัตถุระเบิดและเครื่องกระสุนต่าง ๆ เป็นจำนวนมากที่ใช้สำหรับในการเดินทาง เช่นทักษะในการยิงสัตว์ในขณะที่สัตว์กำลังวิ่งหรือเข้าชาร์จผู้ยิง รวมถึงตำแหน่งการวางเป้าปืนของการยิงปืนในแต่ละครั้ง[25]

เพชรพระอุมาได้สะท้อนภาพให้เห็นถึงลักษณะของการใช้อาวุธปืนสำหรับการล่าสัตว์ในแต่ละขนาดเช่น เสือ กวาง กระทิงหรือช้าง เป็นการสะท้อนความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อาวุธปืนให้เหมาะกับขนาดของสัตว์ที่ล่า ผ่านทางตัวละครในเพชรพระอุมาจำนวน 4 ลักษณะ[26] ด้วยกันคือ

  1. อาวุธปืนที่ใช้สำหรับการล่าสัตว์ปีก
  2. อาวุธปืนสำหรับล่าสัตว์ขนาดเล็ก
  3. อาวุธปืนสำหรับล่าสัตว์ขนาดกลาง
  4. อาวุธปืนสำหรับล่าสัตว์ขนาดใหญ่ และอานุภาพของปืนในแต่ละขนาดสำหรับการยิงสัตว์ชนิดต่าง ๆ

ใกล้เคียง

เพชรพระอุมา เพชรพนมรุ้ง เกียรติหมู่ 9 เพชรพระอุมา ตอนดงมรณะ เพชรพระอุมา ตอนจอมผีดิบมันตรัย เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เพชรพระอุมา ตอนไพรมหากาฬ เพชรพระอุมา ตอนอาถรรพณ์นิทรานคร เพชรพยัคฆราช เพชรพระอุมา (แก้ความกำกวม) เพชรา เชาวราษฎร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพชรพระอุมา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=raveetavan... http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=upanigkit... http://vitdirector.multiply.com/reviews/item/3 http://ppu.pantipmember.com http://www.petchprauma.com http://www.petchprauma.com/contents/illusts.html http://www.petchprauma.com/contents/petchprauma.ht... http://www.petchprauma.com/modules.phpname=Forums&... http://petprauma.com/author/interview.html http://petprauma.com/content/pet00.html