เพชรพระอุมาในรูปแบบอื่น ของ เพชรพระอุมา

หนังสือการ์ตูนและนิยายภาพ

นิยายภาพเพชรพระอุมา

หนังสือการ์ตูน จำนวน 2 ครั้งด้วยกันในอดีต โดยผู้เขียนคือ จุก เบี้ยวสกุล และ ตาโปน[27] ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2531[28] ปัจจุบันตีพิมพ์เป็นนิยายภาพอีกครั้งโดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม จำนวน 48 เล่ม ผลงานภาพของโอม รัชเวทย์ นักเขียนการ์ตูนไทย ที่มีฝืมือระดับต้น ๆ ของเมืองไทย ซึ่งเคยมีผลงานจากพระมหาชนกและคุณทองแดง โดย ชัย ราชวัตร เป็นผู้ช่วยร่างภาพตัวละครต่าง ๆ และลงรายละเอียด ออกจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547[29] ในรูปแบบของนิยายภาพขาวดำ

วิทยานิพนธ์

บทประพันธ์จากประสบการณ์ในการเดินป่าของผู้ประพันธ์มาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง รวมทั้งความรู้ความสามารถในการเดินป่าและอาวุธปืนในการแกะรอยล่าสัตว์[30] ได้รับความสนใจจากนักศึกษาในการทำวิทยานิพนธ์คือ นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา และ นางสาวสริญญา คงวัฒน์ เพื่อนำเสนอถึงคุณค่าและสิ่งที่ได้รับจากนวนิยายเรื่องนี้เสนอต่อ มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • นางสาวสุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "นวนิยายแนวผจญภัย:จาก คิง โซโลมอน'ส มายน์ส ล่องไพร จนถึง เพชรพระอุมา (ภาคแรก)" ในปี พ.ศ. 2541
  • นางสาวสริญญา คงวัฒน์ ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "วิเคราะห์ภาพสะท้อนเชิงพรานในนวนิยายเพชรพระอุมา ของพนมเทียน"[31]

รายการแฟนพันธุ์แท้

รายการแฟนพันธุ์แท้ โดยบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (Workpoint Entertainment) ดำเนินรายการโดยคุณปัญญา นิรันดร์กุล จัดให้มีการค้นหาผู้เข้าแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เพชรพระอุมาจากผู้เข้าแข่งขันจำนวนมาก ทางรายการคัดเลือกแฟนพันธุ์แท้จำนวน 5 คน บันทึกเทปโทรทัศน์ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 ออกอากาศในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2546 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5[32] ดังนี้

  1. คุณสุชาติ ระพีพัฒน์ชัย
  2. คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน
  3. คุณธีระพงษ์ ชัยพิริยะศักดิ์
  4. คุณชลลดา เกตวัลต์
  5. คุณเพ็ญวรินทร์ คัมมกสิกิจ

ผู้เข้าแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เพชรพระอุมา ต่างมีความสามารถที่โดดเด่นและแตกต่างกันออกไป โดยสามารถผ่านการแข่งขันไปในแต่ระรอบของรายการจนถึงรอบสุดท้าย คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน คือผู้ที่ผ่านการแข่งขันในแต่ละรอบมาโดยตลอด ซึ่งจะต้องตอบคำถามข้อสุดท้ายของคุณปัญญา นิรันดร์กุล ที่ถามว่า

"เพชรพระอุมา ใช้เวลาเขียนทั้งหมด 25 ปี 7 เดือนกับ 2 วัน ภาคแรกเขียนจบลงในหนังสือจักรวาลรายสัปดาห์ แล้วมาเริ่มเขียนภาคสองตอนจอมพราน ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันจันทร์ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก ที่ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์รายวันของนวนิยายเรื่องนี้"[33] โดยที่คำถามว่า

ตอนแรกของภาคนี้ลงตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีพ.ศ.อะไร?

คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องคือ "วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2519" และได้รับตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เพชรพระอุมาพร้อมทั้งของรางวัลคือหนังสือพร้อมตู้หนังสือที่ทางสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ พร้อมลายเซ็นคุณพนมเทียนทุกเล่ม, แผ่นทองคำแท้จารึกไว้เป็นหลักฐาน

ภาพยนตร์

ใบปิดภาพยนตร์ เพชรพระอุมา

เพชรพระอุมาได้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ระบบ 35 มม. ซีเนมาสโคป สร้างโดย วิทยาภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2514 หลังซื้อลิขสิทธิ์จากพนมเทียน วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2513 ถ่ายทำเกือบตลอดทั้งเรื่องภายในประเทศไทยและแอฟริกา [34] กำกับโดย ส. อาสนจินดา บทภาพยนตร์โดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง ถ่ายภาพโดย พูนสวัสดิ์ ธีมากร เพลงประกอบโดย สุรพล โทณะวณิก ฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2514

นำแสดงโดย รพินทร์ ไพรวัลย์ (วิทยา เวสสวัฒน์ ผู้อำนวยการสร้าง) รับบทเป็นรพินทร์ ไพรวัลย์, สุทิศา พัฒนุช รับบทเป็นดาริน วราฤทธิ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์ รับบทเป็นเชษฐา วราฤทธิ์, ชนะ ศรีอุบล รับบทเป็นแงซาย, ประจวบ ฤกษ์ยามดี รับบทเป็นไชยยันต์ อนันตรัย

ปัจจุบันมีโครงการสร้างใหม่อีกครั้งโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นด้วยความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่ายจากคลับสมาชิกเว็บไซต์พันทิปจำนวนมากภายในห้องเพชรพระอุมา คาดหวังว่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก ที่แฟนนวนิยายช่วยกันเขียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต และอาจใช้เวลาในการถ่ายทำยาวนานถึง 4 ปี เฉพาะภาคแรกคือออกติดตามค้นหาพรานชด เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ภาค ดูคล้ายๆแนวของฮอลลีวู๊ดอย่าง Jurassic Park, Mummy และ Gladiator[35]

ภาคแรก เรื่มที่สถานีกักสัตว์ซึ่งเป็นการเปิดตัวรพินทร์ ไพรวัลย์ให้คณะนายจ้างจากเมืองหลวงได้พบเห็น จนกระทั่งเดินทางถึงหมู่บ้านหล่มช้าง (ไพรมหากาฬ เล่มที่ 1 จนถึงดงมรณะ เล่มที่ 3)

ภาคสอง หลังออกเดินทางจากหมู่บ้านหล่มช้างจนถึงเนินพระจันทร์ (ดงมรณะ เล่มที่ 4 จนถึงป่าโลกล้านปี เล่มที่ 4)

ภาคสาม หลังออกเดินทางจากเนินพระจันนทร์สู่มรกตนคร พร้อมกับนำตัวพรานชดและหนานอินกลับมาจนถึงหมู่บ้านหนองน้ำแห้ง (แงซายจอมจักรา เล่มที่ 1-4)[36]

ใกล้เคียง

เพชรพระอุมา เพชรพนมรุ้ง เกียรติหมู่ 9 เพชรพระอุมา ตอนดงมรณะ เพชรพระอุมา ตอนจอมผีดิบมันตรัย เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เพชรพระอุมา ตอนไพรมหากาฬ เพชรพระอุมา ตอนอาถรรพณ์นิทรานคร เพชรพยัคฆราช เพชรพระอุมา (แก้ความกำกวม) เพชรา เชาวราษฎร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพชรพระอุมา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=raveetavan... http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=upanigkit... http://vitdirector.multiply.com/reviews/item/3 http://ppu.pantipmember.com http://www.petchprauma.com http://www.petchprauma.com/contents/illusts.html http://www.petchprauma.com/contents/petchprauma.ht... http://www.petchprauma.com/modules.phpname=Forums&... http://petprauma.com/author/interview.html http://petprauma.com/content/pet00.html