ประวัติ ของ เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ซุน ยัดเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และเจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ในปี ค.ศ.1924
เพลงชาติสาธารณรัฐจีน (บรรเลง)

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ

เนื้อความในเพลงชาติสาธารณรัฐจีนเป็นผลงานร่วมกันของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง 4 คน ซึ่งได้แก่

  • หู ฮั่นหมิน (胡漢民 Hú Hànmín)
  • ไต้ จี้เถา (戴季陶; Dài Jìtáo) หรือในอีกชื่อ คือ ไต้ ฉวนเซี่ยน (戴傳賢; Dài Chúanxían)
  • เหลียว จงไข่ (廖仲愷 Liáo Zhōngkǎi)
  • เซ่า หยวนชง (邵元沖 Shào Yuánchōng)

เนื้อความดังกล่าวได้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 ในฐานะสุนทรพจน์พิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่ของ ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง

หลังพรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกเป็นขุนศึก อีกทั้งโค่นล้มรัฐบาลเป่ยหยางอันเป็นรัฐบาลขุนศึกได้สำเร็จ พรรคก็ได้เลือกเอาสุนทรพจน์นี้เป็นบทร้องของเพลงประจำพรรค พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้สาธารณชนเข้าร่วมการประกวดทำนองเพลงสำหรับใช้เป็นเพลงชาติ

เฉิง เหมาหยวิน (程懋筠; Chéng Màoyún) นักประพันธ์ได้รวบรวมผลงานเพลงชาติที่แต่งก่อนหน้านี้ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวงผู่มาเรียบเรียงทำนองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยแรงศรัทธาต่อระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ เพลงชาติสาธารณรัฐจีนจึงถูกแต่งเสร็จภายในคืนเดียว จนในที่สุดผลงานของเฉิงจึงเป็นผลงานที่ชนะเลิศการประกวดจากผลงานที่เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 139 ผลงาน

ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1930 สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งจำนวนมากได้เสนอให้ใช้สุนทรพจน์ของ ดร. ซุน ยัดเซ็น เป็นบทร้องสำหรับเพลงชาติ และสืบเนื่องจากได้มีการคัดค้านเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทำให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขและค้นคว้าเพลงชาติ (國歌編製研究委員會) ขึ้น ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็ได้รับรองเนื้อเพลงประจำพรรคก๊กมินตั๋งใช้เป็นเพลงชาติได้ คณะกรรมาธิการกลาง (中央常務委員會) ได้ผ่านความเห็นชอบการเสนอเพลงชาติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1937 และต่อมาในปี ค.ศ. 1943 เพลง "หลักลัทธิไตรราษฎร์" จึงได้เป็นเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ

ใกล้เคียง

เพลงชาติไทย เพลงชาติ เพลงชาติอาร์เจนตินา เพลงชาติเม็กซิโก เพลงชาติสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เพลงชาติลาว เพลงชาติสหภาพโซเวียต เพลงชาติอัฟกานิสถาน เพลงชาติปากีสถาน เพลงชาติรัสเซีย