การส่งเสริมเพลงลูกทุ่ง ของ เพลงลูกทุ่ง

ต่าย อรทัย รับรางวัลมาลัยทองคำ

ได้มีการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งด้วยการมอบรางวัลทางดนตรีอย่าง รางวัลมาลัยทอง ที่มอบเป็น ขวัญ กำลังใจ ให้คนทำงานเพลงลูกทุ่งที่มีคุณภาพ ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง[32] ซึ่งเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยสมาคมลูกทุ่ง เอฟ. เอ็ม.[33] ส่วนทางคลื่นวิทยุลูกทุ่งมหานคร อสมท FM. 95 MHz ภายใต้การผลิตรายการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีการจัดงานมอบ รางวัลมหานครอวอร์ดส[34]

ในปี 2532 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัด งานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งแรก ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นช่วงที่วงการเพลงลูกทุ่งเริ่มซบเซา ซึ่งปรากฏว่ามีบรรดานักฟังเพลงลูกทุ่งมาชมกันมากเป็นประวัติการณ์จนต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และในปีถัด ๆ ไปสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ได้สนับสนุนเพลงลูกทุ่งไทยมาโดยตลอด และได้จัด งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งในปีนี้ เพลง ส้มตำ ถือเป็นเพลงเกียรติยศ ที่นักร้องลูกทุ่งนำมาขับขานในโอกาสการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 เพลงลูกทุ่งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ และได้อัญเชิญมาขับร้องด้วยการบันทึกเสียงโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และถูกอัญเชิญขับร้องใหม่โดย สุนารี ราชสีมา ในงานนี้ด้วย[35] และในปี พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงการจัดทำโครงการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยด้วยการประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่งไทย สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 จัดให้มีการประกาศผลงานเพลงลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และ ในวันที 15 กันยายน พ.ศ. 2542 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในขณะนั้น ได้จัดงาน 60 ปีเล่าขานตำนานลูกทุ่งไทยขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[36]

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ยังได้มอบรางวัลศิลปินแห่งชาติในสาขาต่าง ๆ โดยในหมวดหมู่ศิลปะการแสดง ที่มอบให้กับการดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งรวมถึงในหมวดหมู่ย่อยดนตรีไทย ได้รวมเพลงลูกทุ่ง[37] ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ นาวาตรีพยงค์ มุกดา (เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง ประพันธ์) (2534),นางผ่องศรี วรนุช (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2535),นายสมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2538),นายไวพจน์ สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2540),นายชัยชนะ บุญนะโชติ (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2541),นายชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2542),นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์) (2542),นายวิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์) (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) (2548), นายประยงค์ ชื่นเย็น (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-เรียบเรียงเสียงประสาน) (2552)[38] นายสมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน) (ดนตรีลูกทุ่ง) (2555)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพลงลูกทุ่ง http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/01/WW12_1233... http://www.bangkokcity.com/2003/vc/place/bnews/det... http://www.bcmthailand.com/content.php?data=401635... http://www.bcmthailand.com/content.php?data=412122... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65...