ภาพถ่าย ของ เพลบลูดอต

ลำดับชุดคำสั่งสำหรับถ่ายทอดให้ยานสำรวจรวมทั้งการคำนวณเวลาเปิดรูรับแสงของกล้องออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์อวกาศ แคนดี แฮนเซ็น (Candy Hansen) จากศูนย์ปฏิบัติการแรงขับไอพ่น (Jet Propulsion Laboratory, JPL) และแคโรลีน ปอร์โก จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา[10] หลังจากที่ถ่ายภาพสำเร็จในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ข้อมูลของภาพจะถูกบันทึกและเก็บไว้ในเครื่องบันทึกเทปที่ติดตั้งไปกับยานเพื่อรอคำสั่งให้ส่งข้อมูลกลับโลก การส่งข้อมูลกลับโลกผ่านเครือข่ายอวกาศห้วงลึกนั้นมีความล่าช้าเนื่องจากขณะนั้นยานสำรวจในโครงการแมเจลแลน (ดาวศุกร์) และกาลิเลโอ (ดาวพฤหัสบดี) กำลังใช้เครือข่ายดังกล่าวส่งข้อมูล สุดท้ายแล้วยานวอยเอจเจอร์ 1 ก็สามารถส่งภาพจำนวน 60 เฟรมได้ในช่วงเดือนมีนาคมและพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ข้อมูลสัญญาณวิทยุนี้ถูกส่งกลับโลกด้วยความเร็วแสงและใช้เวลาในการเดินทางถึง 5 ชั่วโมงครึ่ง[6]

เฟรม 3 อันจากจำนวนดังกล่าวแสดงให้เห็นโลกเป็นจุดแสงเล็ก ๆ ท่ามกลางอวกาศว่างเปล่า ซึ่งแต่ละเฟรมถูกถ่ายโดยใช้ตัวกรองแสงสีต่างกัน ได้แก่ สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง แต่ละเฟรมใช้เวลาเปิดรับแสง 0.72, 0.48 และ 0.72 วินาทีตามลำดับ เฟรมทั้งสามอันถูกประกอบเข้าด้วยกันเป็นภาพ “เพลบลูดอต” เฟรมแต่ละอันมีความละเอียดภาพ 640,000 พิกเซล ถึงกระนั้นโลกที่ปรากฏบนภาพดังกล่าวกินเนื้อที่เพียง 0.12 พิกเซล[16][17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพลบลูดอต http://pqasb.pqarchiver.com/thestar/access/4972863... http://www.space.com/1280-earthly-view-mars.html http://www.thespacereview.com/article/261/1 http://www.loc.gov/item/cosmos000110/ http://fettss.arc.nasa.gov/collection/details/the-... http://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/masterCatalog.do?sc... http://photojournal.jpl.nasa.gov/catalog/PIA00450 http://photojournal.jpl.nasa.gov/catalog/PIA00452 http://saturn.jpl.nasa.gov/spacecraft/cassiniorbit... http://ssd.jpl.nasa.gov/horizons.cgi