พิธีการหลัก ของ เพลิงโอลิมปิก

การจุดเพลิงโอลิมปิก

การซ้อมพิธีจุดเพลิงโอลิมปิก

การจุดเพลิงโอลิมปิกจะเริ่มต้นก่อนการแข่งขันเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งการจุดเพลิงโอลิมปิกจะจัดที่เดียวกับการแข่งขันโอลิมปิกสมัยโบราณ ณ เมืองโอลิมเปีย, ประเทศกรีซ ผู้หญิงที่จุดเพลิงจะต้องเป็นหญิงพรหมจรรย์ทั้งหมด 11 คน ซึ่งจะจุดเพลิงที่วิหารฮีรา โดยใช้จานสะท้อนแบบพาราโบลา ซึ่งมีแสงจากดวงอาทิตย์มาเป็นรังสีที่จะทำให้เพลิงจุดประกาย

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 1952การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 1996การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2012การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ในอวกาศ

หลังจากเพลิงได้จุดขึ้นมา เพลิงโอลิมปิกจะถูกนำไปวิ่งทั่วประเทศกรีซ ต่อจากนั้นจะทำพิธีส่งมอบเพลิงโอลิมปิกแก่ประเทศเจ้าภาพ ณ สนามกีฬาพานาธิเนอิก ในกรุงเอเธนส์ การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกจะสิ้นสุดเมื่อนักวิ่งคนสุดท้ายได้จุดคบเพลิงอย่างเป้นทางการในพิธีเปิดการแข่งขัน นักวิ่งคนสุดท้ายจะถูกเก็บเป็นความลับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงของประเทศเจ้าภาพ

การดับของเพลิง

โดยปรกติแล้ว เป็นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องระแวดระวังไม่ให้เพลิงในคบดับตั้งแต่ช่วงการจุดแรกเริ่มและการส่งคบเพลิงผ่านระหว่างประเทศ จนกว่าจะมีพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น เพื่อการนี้ ได้มีมาตรการป้องกันหลากประเภท เป็นต้นว่า มีการส่งคบเพลิงหลายอันไปในการส่งผ่านระหว่างประเทศเพื่อกันเหตุไม่พึงประสงค์และเพื่อหลอกล่อผู้ไม่ประสงค์ดี หรือมีการส่งคบสำรองไปด้วย ในกรณีที่เพลิงดับกลางคัน จะได้มีการจุดขึ้นใหม่จากคบสำรองที่ส่งไปพร้อมกันนั้น ด้วยเหตุนี้ ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าเพลิงที่ใช้จุดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุกแห่งมีที่มาจากต้นเพลิงที่จุดขึ้นในพิธีที่ประเทศกรีซ

อย่างไรก็ดี ในกระบวนการตั้งแต่พิธีจุดเพลิง การส่งคบเพลิงผ่านระหว่างประเทศ ตลอดจนการจุดเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขัน ไม่จำเป็นต้องใช้คบอันเดียวกัน แต่เพลิงในคบนั้นย่อมมีที่มาจากต้นเพลิงในพิธีที่ประเทศกรีซอยู่แล้ว

พ.ศ. 2519

กรณีคบเพลิงโอลิมปิกดับอันเป็นที่จดจำได้มากที่สุดกรณีหนึ่งได้แก่ในคราวแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ เมืองมอนเทรออล (Montreal) รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นเพราะพายุฝนที่ซัดทั่วบริเวณการแข่งขันอย่างรุนแรงหลังวันพิธีเปิดไม่กี่วัน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ได้แอบจุดเพลิงขึ้นใหม่โดยใช้เพลิงจากบุหรี่ของตน คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันจึงเร่งนำคบที่สำรองมาจากต้นเพลิงไปจุดขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการอีกครั้ง

พ.ศ. 2547

อีกกรณีหนึ่งเป็นคราที่คบเพลิงโอลิมปิกไปถึงสนามกีฬาพานาเทแน็ก (Panathinaiko Stadium) กรุงเอเธนส์ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ ประเทศกรีซ พ.ศ. 2547 และเมื่อนางไจแอนนา แองเจโลพูโลส-ดาสกาลากี (Gianna Angelopoulos-Daskalaki) กรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน จะได้จุดเพลิงในกระถางระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน บังเกิดพายุพัดอย่างแรงเป็นเหตุให้เพลิงในคบดับทันที อย่างไรก็ดี คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้นำคบสำรองมาจุดขึ้นใหม่

พ.ศ. 2551

ในการวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคบเพลิงได้ดับเพลิงอย่างน้อยสองคราเพื่อให้การลำเลียงคบเพลิงด้วยรถระหว่างการแห่รอบกรุงปารีสที่ต้องผจญบรรดาผู้ประท้วงเป็นไปโดยเรียบร้อย[4] สำหรับการจุดเพลิงขึ้นใหม่นั้น ใช้คบสำรองที่รักษาไว้บนเครื่องบินโดยเข้มงวด คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันแถลงภายหลังว่า ในการแข่งขันครั้งนี้จำต้องมีการจุดเพลิงในคบขึ้นใหม่ทุก ๆ สิบห้านาทีเหตุเพราะการประท้วงในหลายประเทศที่เกี่ยวข้อง

ผู้จุดคบเพลิง

  • ผู้จุดคบเพลิงกีฬาโอลิมปิกจะต้องเป็นผู้ที่เป็นนักกีฬาที่มีความสำคัญกับวงการกีฬาของประเทศที่เป็นเจ้าภาพ หรือเกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก เช่น ได้เหรียญรางวัลในกีฬาโอลิมปิก เป็นต้น แต่ในกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศญี่ปุ่น ผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิด ไม่ได้เป็นนักกีฬา แต่เป็นผู้เกิดในวันที่นครฮิโรชิม่าถูกทิ้งระเบิดปรมาณู ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกที่คนจุดคบเพลิง ไม่ได้เป็นนักกีฬา