ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ เฟิร์น

เฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์

ลักษณะใบอ่อนม้วนงอของเฟิร์น

เฟิร์นจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพืชมีเมล็ดในระยะสปอโรไฟต์อื่น โดยเฟิร์นจะประกอบไปด้วย:

  • ลำต้น: โดยมากมักเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน บางครั้งก็เป็นไหลอยู่เหนือดิน (เช่น Polypodiaceae) หรือลำต้นตั้งตรงเนื้อคล้ายไม้เหนือดิน (เช่น Cyatheaceae) ซึ่งอาจสูงได้ถึง 20 เมตรในบางชนิด (เช่น Cyathea brownii บนเกาะนอร์ฟอล์ก และ Cyathea medullaris ในประเทศนิวซีแลนด์)
  • ใบ: ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเฟิร์นมักถูกเรียกว่าฟรอนด์ (Frond) [5] เป็นเพราะในอดีตผู้ที่ทำการศึกษาแบ่งเป็นผู้ที่ศึกษาในเฟิร์นกับผู้ที่ศึกษาในพืชมีเมล็ด มากกว่าที่จะมาศึกษาถึงความแตกต่างทางโครงสร้าง ใบใหม่จะแผ่จากใบที่ขมวดเกลียวแน่นหรือที่เรียกว่า crozier หรือ fiddlehead การคลี่ออกของใบเป็นแบบม้วนเข้าด้านในแบบลานนาฬิกา (Circinate vernation)
  • ราก: ส่วนที่อยู่ใต้ดินทำที่ไม่ใช่ส่วนที่มีกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดิน

เฟิร์นในระยะแกมีโตไฟต์

แกมีโทไฟต์ (ส่วนแทลลัสสีเขียว) และสปอโรไฟต์ (ที่ยื่นสูงขึ้นมา) ของ Onoclea sensibilis

ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะมีลักษณะต่างจากพืชมีเมล็ดอื่น โดยที่ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะประกอบไปด้วย:

  • โพรแทลลัส (Prothallus) : ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือไต ทำหน้าที่สร้างแกมมีท (Gamete) 2 ชนิด คือ แอนเทอริเดียม (Antheridium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างสเปิร์มและอาร์คีโกเนียม (archeagonium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์ไข่ (Egg)
  • ไรซอยด์ (Rhizoid) : ส่วนคล้ายรากซึ่งไม่ใช่รากที่แท้จริงของเฟิร์น ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดินสู่โครงสร้าที่เรียกว่า โพรแทลลัส

ใกล้เคียง

เฟิร์น เฟิร์นก้านดำ เฟร์นันโด ตอร์เรส เฟิร์สวิน เบิร์นอิตดาวน์ (เพลงลิงคินพาร์ก) เทิร์นอะราวด์ เบิร์นนิงอินเดอะสกายส์ เบิร์นอิตทูเดอะกราวด์ เฟร์นันโด โยเรนเต เทิร์นนิงทอร์โซ