การบริบาลทางเภสัชกรรม ของ เภสัชศาสตร์

คือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลข้อกำหนดทางการใช้ยาในการรักษาเพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาสูงสุดต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผลลัพธ์ดังกล่าวประกอบไปด้วยการกำจัดโรค, การควบคุมและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วย และการป้องกันโรค

กระบวนการข้างต้นจะเกี่ยวข้องกับเภสัชกรคลินิกในการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์, นักเทคนิคการแพทย์ และข้อมูลจากผู้ป่วย เภสัชกรคลินิกมีความเกี่ยวข้องการทางการทำงานร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องของยาต่างๆในการรักษาผู้ป่วย

เภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล

ปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิกของกองทัพแคนาดา
ดูบทความหลักที่: เภสัชกรรมคลินิก

เภสัชกรรมคลินิกเป็นสาขาทางเภสัชศาสตร์ที่เภสัชกรและนักเภสัชวิทยาดูแลผู้ป่วยและจัดหายาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการและป้องกันโรค[20] เภสัชกรที่ทำงานในสาขานี้เรียกว่าเภสัชกรคลินิกซึ่งมักปฏิบัติการในคลินิกหรือโรงพยาบาล โดยปฏิบัติการร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข

เภสัชกรรมคลินิกประกอบด้วยสาขาวิชาอีกหลายสาขา อาทิ กระบวนแปรสภาพยาในร่างกายขั้นสูงซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการแปรสภาพยาในร่างกายโดยเน้นถึงกลไกการแปรสภาพและผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของอาการคนไข้ที่ปรากฏทั้งทางด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยาเนื่องจากฤทธิ์ของยาได้อย่างถูกต้องตามเหตุผล เภสัชบำบัดซึ่งเป็นการรักษาด้วยยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับโรคและความผิดปกติของระบบต่างๆ เช่น ระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบไตและตับ โรคติดเชื้อ ระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

การให้คำปรึกษาทางเภสัชกรรมเป็นอีกหนึ่งสาขาที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาและแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย ทักษะสำหรับการสื่อสารที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หลักการและวิธีการของการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อให้เป็นที่เข้าใจกับคนไข้ในสภาวะต่างๆ จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือและการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความร่วมมือในการใช้ยา เทคนิคและวิธีการในการเสริมสร้างให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยา การให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยทั้งในลักษณะเฉพาะรายและรายกลุ่ม การเขียนเกณฑ์ในการให้คำปรึกษาทางยา เป็นต้น

ระบบเภสัชสนเทศทางคลินิกเป็นแนวคิดและระบบในการบริหารจัดการข้อมูลของยาที่ใช้ใน การบริการทางคลินิก โดยเน้นการค้นหาข้อมูล การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล การบริหารจัดการกับฐานข้อมูลและการสื่อการข้อมูลโดยวิธีต่างๆ และระบบการกระจายยาในโรงพยาบาลเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปในการกระจายยา ธรรมชาติของวิถีการกระจายยา ชนิดของระบบการกระจายยาที่ใช้เพื่อให้มียาเพียงพอแก่การใช้ในตึกผู้ป่วย รวมทั้งระบบยูนิตโดส

เภสัชกรรมชุมชน

ร้านยา Bondurant ในเมือง Lexington ประเทศสหรัฐอเมริกาที่สร้างเป็นรูปโกร่งบดยา
ดูบทความหลักที่: เภสัชกรรมชุมชน

เภสัชกรรมชุมชนมีความเกี่ยวข้องกับร้านยาเป็นส่วนใหญ่ "เภสัชกรรมชุมชน" เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการร้านยา เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับร้านยา ประเภทของร้านยา การดำเนินธุรกิจร้านยา การให้บริการประชาชนในฐานะของเภสัชกรชุมชน เป็นต้น โดยผู้ศึกษาเฉพาะในสาขานี้จำป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านยา และระบาดวิทยารวมถึงการสาธารณสุขมูลฐาน งานด้านระบาดวิทยาเป็นไปเพื่อป้องการการระบาดของโรคและการเกิดอุบัติซ้ำหรือโรคอุบัติใหม่ในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เรื่องการให้บริการด้านการให้คำปรึกษาเรื่องยาและสุขภาพอนามัยแก่บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป การจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ และการซักประวัติและจ่ายยาในโรคที่พบได้บ่อยในร้านยา

การจัดการข้อมูลสาธารณสุขด้วยคอมพิวเตอร์เป็นการศึกษาการจัดระเบียบข้อมูล เรียบเรียง การเลือกใช้โปแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับการบริหารทรัพยากรทางสาธารณสุข การพัฒนาความเป็นผู้นำ และการจัดการด้านบุคลากรด้านเภสัชสาธารณสุข โดยเน้นการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

บทบาทงานด้านเภสัชกรรมชุมชนแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ การบริการทางเภสัชกรรมในร้านยา หรือบทบาทเชิงธุรกิจการค้า และการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา ซึ่งช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อช่วยบำบัด บรรเทาอาการของโรค รวมถึงการป้องกันโรคอีกด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: เภสัชศาสตร์ http://www.accp.com/docs/positions/commentaries/Cl... http://www.answers.com/topic/cardiac-glycoside http://www.answers.com/topic/pharmaceutical-chemis... http://www.answers.com/topic/pharmaceutics http://www.answers.com/topic/pharmacognosy http://www.pharcpa.com// http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5... http://www.pharmacy.vcu.edu/sub/alumni/annfund.asp... http://www.pharmacy.wsu.edu/History/history12.html http://www.pharmacy.wsu.edu/History/history14.html