ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ของ เมขลา

เรื่องราวของเมขลา ได้รับการประพันธ์เป็นเพลง "เมขลาล่อแก้ว" ซึ่งเป็นจังหวะรำวง ขับร้องโดยเบญจมินทร์[21] โดยพรรณนาถึงฉากที่เมขลาล่อแก้วกับรามสูร ส่วนในเพลง "ปักตะไคร้" ของวงบุดดาเบลส ในมิวสิกวีดิโอมีฉากที่เมขลาล่อแก้วจนก่อให้เกิดฟ้าผ่า ส่วนเนื้อหาของเพลงมิได้กล่าวถึงเมขลา[22]

นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมคือ พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีฉากนางมณีเมขลาเหาะลงมาช่วยพระมหาชนก ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดการแสดง มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว โดยนำเค้าโครงจากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมาจัดแสดงในรูปแบบนาฏกรรม[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมขลา http://www.natasinsamphan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E... http://music.sanook.com/2385385/ http://music.sanook.com/460/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%... http://www.scene4.com/archivesqv6/jul-2006/html/ya... http://www.sujitwongthes.com/2012/10/siam08102555/ http://www.thaifolk.com/doc/mekkala.htm http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/4_drav/... http://www.seaconsortium.net/autopagev4/show_page.... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27... http://www.projectmadurai.org/pmworks.html