ทางการแพทย์ ของ เมทิลีนบลู

ในปี ค.ศ. 1933 มาทิลดา บรูกส์ นักชีววิทยาชาวอเมริกันค้นพบว่าเมทิลีนบลูใช้เป็นยาต้านภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์และการเป็นพิษจากไซยาไนด์[12] ถึงแม้จะไม่แนะนำให้ใช้เมทิลีนบลูในการรักษาภาวะเหล่านี้แล้ว[4] แต่เมทิลีนบลูยังปรากฏเป็นยาต้านพิษในยาหลักขององค์การอนามัยโลก[13] ปัจจุบันเมทิลีนบลูใช้เป็นยารักษาภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด[2] โดยเฉพาะในรายที่มีระดับเมทฮีโมโกลบินมากกว่า 30% หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยออกซิเจน[2] โดยให้ทางหลอดเลือดดำ[4]

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเมทิลีนบลู ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน สับสน หายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมถึงการสลายของเม็ดเลือดแดงและภูมิแพ้[4] การใช้เมทิลีนบลูมักทำให้เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระมีสีน้ำเงินถึงเขียว[2] เมทิลีนบลูมีคุณสมบัติยับยั้งมอนอเอมีนออกซิเดส เอนไซม์ที่สลายสารสื่อประสาทเซโรโทนิน[14] มีรายงานว่าผู้ป่วยที่ใช้เมทิลีนบลูร่วมกับยา Selective serotonin re-uptake inhibitors ประสบกับกลุ่มอาการเซโรโทนิน[15] ไม่ควรใช้เมทิลีนบลูในการรักษาโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงสลาย[16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมทิลีนบลู http://www.pharmacopeia.cn/v29240/usp29nf24s0_alph... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.5874.... http://www.labchem.com/tools/msds/msds/LC16850.pdf http://inc.sagepub.com/content/13/3/256.full.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17643437 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17721552 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21112496 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2078225 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3762455 http://www.kegg.jp/entry/C00220