โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD
โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD

โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD

โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (อังกฤษ: Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) เป็นโรคทางพันธุกรรมของกระบวนการสร้างและสลายโรคหนึ่งซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นต่างๆ ในช่วงเวลาปกติผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แต่หากได้รับสิ่งกระตุ้นจะมีอาการ ตัวเหลือง ปัสสาวะเข้ม หายใจหอบเหนื่อย และอ่อนเพลียได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยได้แก่อาการซีด และอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยบางรายไม่เคยมีอาการใดๆ เลยตลอดชีวิตโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซมเอ็กซ์แบบลักษณะด้อย ทำให้เกิดความบกพร่องในเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการมีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อ ยาบางชนิด ความเครียด อาหารบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า ความรุนแรงมีหลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ การตรวจเลือด และการตรวจพันธุกรรมการรักษาที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เมื่อมีอาการกำเริบแต่ละครั้งแพทย์อาจให้การรักษาการติดเชื้อ หยุดยาที่เป็นสาเหตุ และอาจให้เลือดหากมีความจำเป็น กรณีทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลืองอาจต้องรักษาด้วยการส่องไฟหรือถ่ายเลือด ในยาบางชนิดจะมีแนวทางปฏิบัติกำหนดให้ต้องตรวจผู้ป่วยที่จะใช้ยาว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ เช่นในกรณียาไพรมาควิน เป็นต้นมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 400 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในแอฟริกา เอเชีย เมดิเตอร์เรเนียน และในตะวันออกกลาง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ข้อมูลปี ค.ศ. 2015 ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 33,000 คน การมีอัลลีลกลายพันธุ์ของโรคนี้อาจเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้คนคนนั้นมีโอกาสติดเชื้อมาลาเรียน้อยลงได้

โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD

อาการ ผิวกายเหลือง, ปัสสาวะสีเข้ม, หายใจลำบาก[1]
สาขาวิชา พันธุกรรมทางการแพทย์
ความชุก 400 ล้าน[1]
สาเหตุ พันธุกรรม (เอกซ์ลิงก์รีเซสซีฟ)[1]
วิธีวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับอาการ, ตรวจเลือด, การทดสอบพันธุกรรม[2]
ปัจจัยเสี่ยง หากถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อ, ยาบางชนิด, ความเครียด, อาหารเช่น ถั่วฟาวา[1][3]
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะเลือดจาง, ดีซ่านแรกเกิด[2][1]
การรักษา หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น, ทานยาต้านการติดเชื้อ, การหยุดทานยาที่ส่งผล, การถ่ายเลือด[3]
การเสียชีวิต 33,000 (2015)[4]
การตั้งต้น ภายในสองสามวันหลังถูกกระตุ้[2]
ชื่ออื่น โรคถั่วฟาวา (Favism)[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน ภาวะเอนไซม์ไพรูเวตคิเนสบกพร่อง, สเฟอโรไซทอซิสทางพันธุกรรม, ภาวะเชือดจางซิกเคิลเซลล์[2]

ใกล้เคียง

โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD โรคกรดไหลย้อน โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคริดสีดวงทวาร โรคพิษสุนัขบ้า โรคพาร์คินสัน โรคพุพอง โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก โรคพยาธิใบไม้ในเลือด

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD http://www.diseasesdatabase.com/ddb5037.htm http://www.emedicine.com/med/topic900.htm http://www.fpnotebook.com/Hemeonc/Hemolysis/G6pdDf... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282.... http://www.rialto.com/g6pd/table2.htm http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.g6pd.org/ https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://patient.info/doctor/favism