การรักษา ของ โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) คือการป้องกันและหลีกเลี่ยงยาและอาหารที่ทำให้มีการสลายของเม็ดเลือดแดง การได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่พบบ่อยบางชนิด (เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ และบี) อาจช่วยป้องกันเหตุเม็ดเลือดแดงสลายที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นๆ ได้

ในระยะเฉียบพลันของการสลายของเม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด หรือต้องรับการชำระเลือด (dialysis) หากมีภาวะไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้น การให้เลือดเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอาการ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงในเลือดที่ได้รับนั้นโดยทั่วไปจะไม่พร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี ดังนั้นจะมีอายุขัยปกติในร่างกายของผู้รับเลือด

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้นจากการตัดม้าม เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งทำลายเม็ดเลือดแดงของร่างกาย กรดโฟลิกจะช่วยได้ในกรณีที่มีการทำลายและสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่มาก ในขณะที่วิตามินอีและซีลีเนียมนั้นแม้จะมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันแต่ก็ไม่ช่วยลดความรุนแรงของภาวะพร่อมเอนไซม์จีซิกส์พีดีแต่อย่างใด

ใกล้เคียง

โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD โรคกรดไหลย้อน โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคริดสีดวงทวาร โรคพิษสุนัขบ้า โรคพาร์คินสัน โรคพุพอง โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก โรคพยาธิใบไม้ในเลือด

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพร่องเอนไซม์_G-6-PD http://www.diseasesdatabase.com/ddb5037.htm http://www.emedicine.com/med/topic900.htm http://www.fpnotebook.com/Hemeonc/Hemolysis/G6pdDf... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=282.... http://www.rialto.com/g6pd/table2.htm http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.g6pd.org/ https://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2015/MB_cgi?field... https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/0... https://patient.info/doctor/favism