เมแทมเฟตามีน
เมแทมเฟตามีน

เมแทมเฟตามีน

เมแทมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือชื่อในระบบ IUPAC คือ เอ็น-เมทิลแอมฟีตะมีน เป็นสารกระตุ้นหนักระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากถูกใช้เป็นสารเสพติดและถูกใช้บ้างในการรักษาโรคซนสมาธิสั้นและโรคอ้วน เมแทมเฟตามีนถูกค้นพบโดยนักเคมีชาวญี่ปุ่น นาไง นางาโยชิ (長井 長義) ในปี ค.ศ. 1893 และมีอยู่สองอีแนนซิโอเมอร์ ประกอบด้วย: เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน (dextromethamphetamine) ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงกว่าและ เลโวเมแทมเฟตามีน (levomethamphetamine) อย่างไรก็ตามเมแทมเฟตามีนมีพิษต่อระบบประสาทของมนุษย์และสามารถถูกใช้เป็นสารเสพติดประเภทกระตุ้นความต้องการทางเพศและมัวเมา ขณะเดียวกันก็มียาชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่าและมีประสิทธิผลทัดเทียมกัน การสั่งจ่ายเมแทมเฟตามีนโดยแพทย์จึงพบได้ยากในปัจจุบัน ปัจจุบัน การค้าและครอบครองทั้งเมแทมเฟตามีนและเดกซ์โตรเมแทมเฟตามีนเพื่อการเสพถือว่าผิดกฎหมาย การใช้เมแทมเฟตามีนอย่างผิดกฎหมายพบได้มากที่สุดในเอเชีย, โอเชียเนียและในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในสหรัฐ ทั้งเมแทมเฟตามีน, เดกซ์โตรเมแทมเฟตามีน และเลโวเมแทมเฟตามีนถูกจัดอยู่ในบัญชีที่สอง ประเภทสารควบคุม โดยเลโวเมแทมเฟตามีนเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์สำหรับใช้เป็นยาลดอาการคัดจมูกในสหรัฐ แต่โดยสากลแล้ว การผลิต จำหน่ายและครอบครองเมแทมเฟตามีนนั้นถูกควบคุมหรือต้องห้ามในประเทศส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นสารที่อยู่ในบัญชีที่สองของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสารที่มีผลต่อจิตใจ การที่ร่างกายได้รับเมแทมเฟตามีนมากเกินไป อาจส่งผลกระทบให้เกิดหลายอาการ[7][10] การได้รับมากเกินในระดับปานกลางอาจทำให้มีอาการชีพจรผิดปกติ, สับสนงุนงง, ถ่ายปัสสาวะลำบากหรือเจ็บ, ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, อุณหภูมิร่างกายสูง, ตื่นตัวและตอบสนองมากเกิน, ปวดกล้ามเนื้อ, กระสับกระส่าย, หายใจเร็ว, ชะงักหลั่งปัสสาวะ และปัสสาวะปลอดยูรีน[7][11] การได้รับมากเกินในระดับสูง อาจก่อให้เกิดอาการอื่นเพิ่มเติม คือ อาการกำเริบรุนแรง, ไตวาย, กล้ามเนื้อลายละลาย, เซอโรโทนินซินโดรม และ เคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และยังอาจทำลายสมองได้อีกด้วย

เมแทมเฟตามีน

ระยะเวลาออกฤทธิ์ 10–20 hours[6]
IUPHAR/BPS
การเปลี่ยนแปลงยา CYP2D6[4] and FMO3[5]
Boiling point 212 °C (414 °F) at 760 mmHg[9]
ChEBI
เลขทะเบียน CAS
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ Rapid[6]
PubChem CID
AHFS/Drugs.com Monograph
ChemSpider
DrugBank
รหัส ATC
Chirality Racemic mixture
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 5–30 hours[7]
ชื่ออื่น N-methylamphetamine, N,α-dimethylphenethylamine, desoxyephedrine
KEGG
ChEMBL
สูตร C10H15N
ข้อมูลทะเบียนยา
UNII
Protein binding Varies widely[3]
Dependenceliability Physical: none
Psychological: high
ช่องทางการรับยา Medical: oral (ingestion), intravenous[1]
Recreational: oral, intravenous, intramuscular, subcutaneous, smoke inhalation, insufflation, rectal, vaginal
ECHA InfoCard 100.007.882
PDB ligand
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
    มวลต่อโมล 149.24 g·mol−1
    สถานะตามกฏหมาย
    ชีวประสิทธิผล Oral: 70%[2]
    IV: 100%[2]
    การอ่านออกเสียง /ˌmɛθæmˈfɛtəmn/
    การขับออก Primarily renal
    Addictionliability High
    Melting point 3 °C (37 °F) (predicted)[8]
    แบบจำลอง 3D (JSmol)
    ชื่อทางการค้า Desoxyn

    แหล่งที่มา

    WikiPedia: เมแทมเฟตามีน http://www.accessmedicine.com/content.aspx?aID=166... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.1169.... http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe... http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/labe... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1828602 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15922018 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20849327 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25724762 http://toxnet.nlm.nih.gov/cgi-bin/sis/search/r?dbs... http://www.kegg.jp/entry/D08187