เมแทบอลิซึมของกรดไขมัน

เมแทบอลิซึมของกรดไขมันประกอบด้วยกระบวนการคาทาบอลิกที่ผลิตพลังงาน และกระบวนการเอนาบอลิกที่ผลิตโมเลกุลที่มีความสำคัญทางชีววิทยา (ไตรกีเซอไรด์, ฟอสฟอลิพิด, second messengers, local hormones และ คีโตนบอดีส์)[1]กรดไขมันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ของโมเลกุลที่จัดประเภทภายในชั้นของมาโครนิวทรีเอนต์ลิพิด หน้าที่ประการหนึ่งของกรดไขมันในเมแทบอลิซึมของสัตว์นั้นคือการผลิตพลังงานในรูปของATP หากเปรียบเทียบกับชั้นมาโครนิวทริเอนต์อื่น ๆ (คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน) แล้ว กรดไขมันให้ ATP มากที่สุดในแง่ของพลังงานต่อกรัม เมื่อกรดไขมันได้ถูกออกซิไดส์สำเร็จเป็น CO2 และน้ำ ผ่านเบตาออกซิเดชัน และวัฏจักรกรดซิตริก[2] กรดไขมัน (โดยหลักแล้วอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์) จึงเป็นรูปแบบการกักเก็บของเชื้อเพลิงที่สำคัญที่สุดในสัตว์ส่วนใหญ่ และน้อยลงในพืช นอกจากนี้กรดไขมันยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในฟอสฟอลิพิดที่สร้างฟอสฟอลิพิดไบเลเยอร์ในเยื่อหุ้มเซลล์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมแทบอลิซึมของกรดไขมัน //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3564188 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3602789 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6741266 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12843297 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12856180 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23072752 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23506886 http://pharmaxchange.info/press/2013/10/activation... http://pharmaxchange.info/press/2013/10/mobilizati... http://pharmaxchange.info/press/2013/10/oxidation-...