การประยุกต์ใช้ ของ เรณูวิทยา

เรณูวิทยาถูกนำไปประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆมากมาย

  • การลำดับชั้นหินทางชีววิทยา หรือ การหาอายุทางธรณีวิทยา นักธรณีวิทยาใช้การศึกษาทางเรณูวิทยาในทางการลำดับชั้นหินทางชีววิทยาเพื่อเปรียบเทียบชั้นหินและหาอายุเปรียบเทียบของชั้นหิน หมวดหิน หรือการลำดับชั้นหินหนึ่งๆ
  • นิเวศวิทยา และ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโบราณ เรณูวิทยาสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ชุมชนพืชในอดีตและชุมชนแพลงตอนพืชในทะเลหรือแหล่งน้ำจืด และสามารถอนุมานเป็นสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในอดีตได้
  • การศึกษาลักษณะปรากฏทางเรณูวิทยา ด้วยการตรวจสอบสภาพการเก็บรักษาของอินทรีย์วัตถุที่จะทำให้ทราบสภาพแวดล้อมของการตกสะสมตะกอนของหินตะกอน
  • การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความร้อนใต้พิภพ ด้วยการตรวจสอบสีของเรณูสัณฐานที่แยกออกมาจากเนื้อของหินทำให้ทราบการแปรผันของอุณหภูมิและการพัฒนาเต็มที่ของสารไฮโดรคาร์บอนของการลำดับชั้นตะกอนซึ่งจะทำให้สามารถประมาณการอุณหภูมิโบราณสูงสุดได้
  • การศึกษาทางชลธีวิทยา เรณูสัณฐานน้ำจืดและเศษชิ้นส่วนของพืชและสัตว์ รวมถึงพวกสาหร่ายหลากหลายชนิด (พราซิโนไฟต์ เดสมิด และสาหร่ายสีเขียว) ที่สามารถศึกษาระดับน้ำในทะเลสาบในอดีตและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะยาว
  • อนุกรมวิธาน การจำแนกทางวิทยาศาสตร์ และ การศึกษาเชิงวิวัฒนาการ
  • นิติเรณูวิทยา เป็นการศึกษาละอองเรณูและเรณูสัณฐานอื่นๆเพื่อการใช้เป็นหลักฐานประกอบในพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรม
  • การศึกษาโรคภูมิแพ้ เป็นการศึกษาการกระจายตัวในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และการปริมาณการการผลิตละอองเรณูตามฤดูกาลที่สามารถช่วยผู้ป่วยจากอาการภูมิแพ้อย่างเช่นโรคแพ้เกสรดอกไม้ได้
  • เรณูวิทยาน้ำผึ้ง เป็นการศึกษาละอองเรณูและสปอร์ที่พบอยู่ในน้ำผึ้ง
  • เรณูวิทยาโบราณคดี เป็นการศึกษาการใช้พืชของมนุษย์ในอดีต ที่สามารถช่วยอธิบายการเพาะปลูกตามฤดูกาล การมีหรือไม่มีกิจกรรมหรือผลผลิตทางการเกษตร และพื้นที่ที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพืชในเชิงโบราณคดี บอนไฟร์ เชลเตอร์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ทางเรณูวิทยานี้

เพราะว่าการกระจายตัวของอาคริทาร์ช ไคตินโนซัว ไดโนแฟลกเจลเลตซิสต์ ละอองเรณู และสปอร์ เป็นหลักฐานในการเปรียบเทียบการลำดับชั้นหินในการวิเคราะห์การลำดับชั้นหินทางชีววิทยาและสภาพแวดล้อมโบราณ การประยุกต์ใช้ทั่วไปของเรณูวิทยาและก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงคือในการใช้ประกอบในการสำรวจปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ

เรณูวิทยายังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์อนุมานสภาพภูมิอากาศได้จากการปรากฏของชุมชนพืชในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาทางธรณีวิทยาย้อนหลังไปนับเป็นพันปีหรือนับเป็นล้านๆปีทีเดียว และนี้เป็นสิ่งพื้นฐานในการวิจัยถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรณูวิทยา http://www.geo.arizona.edu/palynology/riteword.htm... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17810290 http://www.bioone.org/perlserv/?request=get-abstra... //doi.org/10.1016%2F0033-5894(85)90074-2 //doi.org/10.1038%2F315485a0 //doi.org/10.1098%2Frstb.1985.0077 //doi.org/10.1126%2Fscience.225.4663.711 //doi.org/10.1658%2F1100-9233(2002)013%5B0765:ALRO... http://links.jstor.org/sici?sici=0080-4622(1985040... http://www.palynology.org/history/erdtman.html