ประวัติวิชาเรณูวิทยา ของ เรณูวิทยา

ประวัติเริ่มแรก

มีรายงานการค้นพบละอองเรณูภายใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นครั้งแรกสุดในช่วงทศวรรษที่ 1640 โดย เนเฮเมียห์ กรีว นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ[2]เป็นผู้บรรยายลักษณะของละอองเรณู เกสรตัวผู้ และเป็นผู้ทำนายได้อย่างถูกต้องว่าละอองเรณูเป็นสิ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์ของพืชทั้งหลาย กล้องจุลทรรศน์ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาเรณูวิทยามากยิ่งขึ้นรวมไปถึงผลงานของโรเบิร์ต คิดสตัน และพี เรนช์ผู้ตรวจสอบพบสปอร์ในชั้นถ่านหินที่เปรียบเทียบได้กับสปอร์ของพืชปัจจุบัน[3] ผู้บุกเบิกช่วงแรกๆยังรวมถึงคริสเตียน กอทต์ฟรายด์ อีห์เรนเบิร์ก (ผู้ศึกษาเรดิโอลาเรียนและไดอะตอม) ไกเดียน แมนเทลล์ (ผู้ศึกษาสาหร่ายเดสมิด) และเฮนรี โฮฟเรย์ ไวต์ (ผู้ศึกษาไดโนแฟลกเจลเลต)

เรณูวิทยายุคใหม่

การวิเคราะห์ละอองเรณูเชิงปริมาณแรกสุดถูกตีพิมพ์โดยเลนนาร์ต วอง โพสต์ เป็นผู้วางรากฐานในการวิเคราะห์ละอองเรณูยุคใหม่ในการบรรยายที่คริสเตียนาของเขาในปี ค.ศ. 1916[4] การวิเคราะห์ละอองเรณูช่วงแรกๆถูกจำกัดเฉพาะในแถบประเทศนอร์ดิคเนื่องจากการตีพิมพ์ในช่วงแรกๆจำนวนมากเป็นภาษานอร์ดิค[5] การจำกัดการศึกษาจำกัดเฉพาะในหมู่ประเทศนอร์ดิคนี้ได้สิ้นจุดลงด้วยการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ของกุนนาร์ เอิร์ดมันในปี ค.ศ. 1921 เมื่อมีการวิเคราะห์ละอองเรณูอย่างแพร่หลายทั่วทั้งยุโรปและอเมริกาเหนือสำหรับใช้ในการศึกษาพืชพันธุ์และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยุคควอเทอร์นารี[4]

คำว่า “palynology” (มีความหมายว่า “เรณูวิทยา”) ถูกเสนอใช้โดยไฮด์ และวิลเลียมในปี ค.ศ. 1944 (ตามการใช้โดยแอนเทฝส์ นักธรณีวิทยาชาวสวีเดน) ในหลายหน้าของเอกสารแจก (เป็นหนึ่งของวารสารฉบับแรกๆที่อุทิศให้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางละอองเรณูผลิตโดยพอล เซียร์ในอเมริการเหนือ) ไฮด์และวิลเลียมเลือกคำว่า “palynology” บนพื้นฐานรากศัพท์กรีกโบราณจากคำว่า “paluno” หมายถึงการหว่านหรือพรมและ “pale” หมายถึงฝุ่นละออง (ซึ่งตรงกับคำว่า “pollen” ในภาษาลาติน) [6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรณูวิทยา http://www.geo.arizona.edu/palynology/riteword.htm... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17810290 http://www.bioone.org/perlserv/?request=get-abstra... //doi.org/10.1016%2F0033-5894(85)90074-2 //doi.org/10.1038%2F315485a0 //doi.org/10.1098%2Frstb.1985.0077 //doi.org/10.1126%2Fscience.225.4663.711 //doi.org/10.1658%2F1100-9233(2002)013%5B0765:ALRO... http://links.jstor.org/sici?sici=0080-4622(1985040... http://www.palynology.org/history/erdtman.html