ลักษณะ ของ เรดอน

คุณสมบัติทางกายภาพ

เรดอนจัดเป็นก๊าซเฉื่อยที่ไร้รส สี และกลิ่น ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยผัสสะสัมผัสของมนุษย์ ในอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน เรดอนจะมีสภาพเป็นก๊าซอะตอมเดี่ยวที่มีความหนาแน่นเท่ากับ 9.73 กิโลกรัม/เมตร3,[1] มากกว่าความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 8 เท่า [2]

เรดอนจะสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อนำไปแช่เย็นในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งจะเปล่งแสงเป็นสีเหลืองไปถึงแดงส้มแปรผันตามอุณหภูมิที่ลดลง [3] [4] ด้วยสาเหตุจากการแผ่รังสีที่เข้มข้นขึ้น [5]

เรดอนสามารถละลายในน้ำได้ ซึ่งสามารถละลายได้มากกว่าเมื่อเทียบกับก๊าซมีตระกูลชนิดอื่น และละลายได้ดีกว่าในของเหลวชีวภาพเมื่อเทียบกับการละลายในน้ำ

คุณสมบัติทางเคมี

เรดอนจัดเป็นสมาชิกของกลุ่มธาตุวาเลนซ์เป็นศูย์หรือถูกเรียกว่ากลุ่มก๊าซมีตระกูล ในการดึงอีเล็กตรอนหนึ่งๆออกจากเปลือกต้องใช้พลังงานไอออไนเซชัน 1037 กิโลจูล/โมล [6] เรดอนมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตีต่ำกว่าซีนอนอ้างอิงจากตารางธาตุ ดังนั้นจีงเกิดปฏิกิริยาได้มากกว่า

การทดลองเกี่ยวกับธาตุเรดอนนั้นมีน้อยเนื่องด้วยปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายที่สูงกอปรกับเป็นธาตุกัมมันตรังสี เรดอนสามารถออกซิไดซ์ได้ด้วยตัวออกซิไดซ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างฟลูออรีนซึ่งจะทำให้เกิดเรดอนไดฟลูออรีน [7][8] อันสามารถแยกส่วนกลับไปสู่ธาตุเดิมได้ในอุณหภูมิที่มากกว่า 250 องศาเซลเซียส เรดอนมีระดับการระเหยเป็นไอที่ต่ำและถูกเชื่อว่าเป็น RnF2

เนื่องจากเรดอนมีครึ่งชีวิตที่สั้นและสารประกอบที่มีกัมมันตภาพรังสีจึงทำให้การตรวจสอบรายละเอียดของสารประกอบทำได้ยาก ทำให้มีเพียงข้อตั้งทางทฤษฎีที่คาดว่าเรดอนน่าจะมีระยะระหว่างพันธะ Rn-F เป็น 2.08 Å และสารประกอบมีอุณหพลศาสตร์ที่คงที่และผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ XeF2.[9]

[RnF]+ ไอออน เชื่อว่าก่อตัวขึ้นมาตามรูปแบบนี้:[10]
Rn (g) + 2 [O2]+[SbF6]− (s) → [RnF]+[Sb2F11]− (s) + 2 O2 (g)

ไอโซโทป

เรดอนไม่มีไอโซโทปคงที่ โดยทั่วไปจะมีไอโซโทปกัมมันตรังสี 36 ตัว ที่มีมวลอะตอมตั้งแต่ 193 ถึง 228 ประกอบเข้าด้วยกัน[11] ไอโซโทปตัวคงที่ที่สุดของเรดอนคือ 222Rn อันเป็นไอโซโทปที่ได้จากการสลายตัวของเรเดียม-226 หรือจากการสลายตัวของยูเรเนียม-238 [12] มีไอโซโทป 3 ตัวที่มีครึ่งชีวิตเพียงหนึ่งชั่วโมงกว่าอันได้แก่ 211Rn, 210Rn และ 224Rn

ไอโซโทปตัวอื่นๆที่มีครึ่งชีวิตสั้นได้แก่ 220Rn เป็นไอโซโทปที่ได้จากการสลายตัวของธอเรียม-232 ซึ่งเป็นไอโซโทปตัวคงที่ที่สุดของธาตุธอเรียม เรียกโดยทั่วไปว่า"ธอรอน"อันมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 55.6 วินาทีและยังปล่อยรังสีอัลฟาออกมา เช่นเดียวกับ 219Rn ที่เป็นผลผลิตจากไอโซโทปของธาตุแอคติเนียมตัวที่ 227 ซึ่งเป็นไอโซโทปตัวคงที่ที่สุด เรียกโดยทั่วไปว่า"แอคตินอน"อันมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 3.96 วินาทีและปล่อยรังสีอัลฟาเช่นกัน