การออกแบบและการต่อเรือ ของ เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย_ที5

87เอฟ ในปี พ.ศ. 2458

เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 มีความยาว 250 ฟุต กลุ่มเอฟ มีความยาว 58.5 เมตร (191 ฟุต 11 นิ้ว) ความกว้าง 5.8 m (19 ft 0 in) และกินน้ำลึกปกติ 1.5 m (4 ft 11 in) มีระวางขับน้ำตามการออกแบบ 266 ตันและเพิ่มเป็น 330 ตัน เมื่อบรรทุกเต็มที่[2] สามารถบรรจุลูกเรือได้ 38–41 คน[1][2] เรือขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำ เออีจีเคอร์ทิสส์ 2 ใบพัด ขับเคลื่อนโดยหม้อไอน้ำแบบยาร์โรว์ 2 หม้อ [1] หม้อหนึ่งเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง และอีกหม้อหนึ่งเผาไหม้ถ่านหิน กังหันทั้งสองจัดเป็น 5,000 แรงม้า (3,700 กิโลวัตต์) และสูงสุดถึง 6,000 แรงม้า (4,500 กิโลวัตต์) และออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนเรือให้มีความเร็วสูงสุด 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] บรรทุกถ่านหิน 20 ตัน และน้ำมันเชื้อเพลิง 34 ตัน[3] ทำให้มีพิสัย 1,200 nmi (2,200 km; 1,400 mi) ที่ความเร็ว 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2] กลุ่มเอฟมีปล่องควันสองปล่องซึ่งมากกว่ากลุ่มทีซึ่งมีปล่องเดียว[1] เนื่องจากการจัดหาทุนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ 87เอฟ และเรือยิงตอร์ปิโดชั้น 250ที ลำที่เหลือกลายเป็นเรือชายฝั่งโดยสภาพแม้ว่ามีเจตนาทีแรกให้ปฏิบัติการ "ทะเลน้ำลึก"[4] เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือเล็กของออสเตรีย-ฮังการีที่ใช้ระบบกังหันและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับระบบใหม่[1]

เรือลำนี้มีปืนสโกด้า 66 มิลลิเมตร (2.6 นิ้ว) แอล/30 2 กระบอก[lower-alpha 1] และ ตอร์ปิโด 450 mm (17.7 in) 4 ลูก สามารถพกทุ่นระเบิดเรือ 10-12 ลูก[2] 87เอฟ เริ่มวางกระดูกงูในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2457 ถูกปล่อยลงน้ำ 20 มีนาคม พ.ศ. 2458 และขึ้นระวางวันที่ 25 ตุลาคมของปีเดียวกัน[5]

ใกล้เคียง

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที5 เรือตอร์ปิโดยูโกสลาเวีย ที1 เรือตรวจการณ์ชั้นเคคา เรือรบในกองทัพเรือไทย เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ เรือประจัญบานยามาโตะ เรือหลวงสุโขทัย เรือนจำกลางคลองเปรม