เลออโคออนในปรัชญาศิลปะ ของ เลออโคออนและบุตร

คำบรรยาย "เลออโคออน" ของพลินิที่ว่า "เป็นงานที่ควรจะเป็นที่ชื่นชมกว่างานใดใด ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรมหรือประติมากรรมตั้งแต่ได้ที่ได้สร้างกันขึ้นมา"[11] นำไปสู่การอภิปรายที่อ้างว่างานชิ้นนี้เป็นงานศิลปะที่ดีที่สุดในบรรดางานศิลปะทั้งหมดที่สร้างกันมา นักประวัติศาตร์ชาวเยอรมันโยฮันน์ โยฮาคิม วิงเคลมันน์ (Johann Joachim Winkelmann) เขียนถึงความขัดแย้งของการชื่นชมความงามขณะที่เป็นฉากของความตายและความหายนะ แต่ความเห็นที่มีอิทธิพลที่สุดคือความเห็นของกอทโธลด์ เอเฟรม เลสซิง ในบทความ "เลออโคออน: บทความเกี่ยวกับความจำกัดของจิตรกรรมและร้อยกรอง" (Laocoon: An Essay on the Limits of Painting and Poetry) ที่พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างการสร้างศิลปะทางตาและการสร้างศิลปะทางวรรณกรรม โดยเปรียบเทียบประติมากรรม "เลออโคออน" กับ งานเขียนของเวอร์จิล เลสซิงกล่าวว่าศิลปินไม่อาจจะสร้างงานที่แสดงความทุกขทรมานทางกายอย่างเป็นจริงเป็นจังได้นอกไปจากว่าจะต้องสร้างให้มีความงามในตัว ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นภาพที่ทารุณจนเกินกว่าที่จะดูได้

แต่ปฏิกิริยาที่แตกต่างจากสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวกับการอภิปรายของหัวข้อนี้คืองานของวิลเลียม เบลคที่เป็นภาพ "เลออโคออน" พร้อมด้วยความเห็นที่เขียนเป็นกราฟฟิตีเป็นอักขระภาษาต่างๆ รอบทิศทางรอบภาพ ที่เป็นการแสดงทฤษฎีของเบลคที่ว่าการเลียนแบบศิลปะกรีกและโรมันเป็นสิ่งที่มีอันตรายต่อความสร้างสรรค์ทางศิลปะ และงานประติมากรรมของกรีกและโรมันเป็นสัญลักษณ์ของความงามที่ไม่น่าสนใจเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับศิลปะจูเดโอ-คริสเตียน

"เลออโคออน" ในประติมากรรม "เลออโคออนและบุตร" มีอิทธิพลต่อตัวแบบอเมริกันอินเดียนในงานประติมากรรม "ความช่วยเหลือ" (The Rescue) โดยโฮราชิโอ กรีนโน (Horatio Greenough) ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของตึกรัฐสภาสหรัฐอเมริกา (U.S. Capitol) มาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว

ในตอนใกล้จะจบของหนังสือ "คริสมัสต์แคโรล" (A Christmas Carol) โดยชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ เอเบเนเซอร์ สครูจออกความเห็นกับตัวเองว่าทำตัวสมเป็น "เลออโคออน" ด้วยถุงเท้าถุงน่องของตัวเอง เพราะความรีบที่จะแต่งตัวจนพัวพันไปด้วยเสื้อผ้ารุงรังรอบตัว ซึ่งเป็นการอ้างอิงโดยตรงถึงประติมากรรมเลออโคออน

ในปี ค.ศ. 1910 นักวิจารณ์เออร์วิง แบ็บบิทตั้งชื่อบทความว่า "เลออโคออนใหม่: บทความเกี่ยวกับความสับสนของศิลปะ" (The New Laokoon: An Essay on the Confusion of the Arts) ที่เป็นบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปี ค.ศ. 1940 เคลเมนต์ กรีนเบิร์ก เขียนบทความ "ทางไปสู่เลออโคออนใหม่" ที่กรีนเบิร์กกล่าวว่าศิลปะนามธรรมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการวัดคุณค่าของงาน ชื่อเดียวกันนี้นำไปเป็นชื่องานแสดงศิลปะที่สถาบันเฮนรี มัวร์ ในปี ค.ศ. 2007 ที่เป็นงานแสดงศิลปะที่แสดงงานของศิลปินสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากประติมากรรม "เลออโคออนและบุตร"